ปลูกมะละกอ เรดเลดี้ (RED LADY) มะละกอลูกผสมเบอร์ 786 เป็นพืฃแซมในสวนยางพารา
เมื่อพูดถึง "มะละกอ" ผลไม้รูปทรงยาวรี "108 เคล็ดกิน" ก็มีอันต้องนึกไปถึงส้มตำก่อนทุกที คงเป็นเพราะเรามักจะได้เห็นมะละกอในรูปแบบของส้มตำจานเด็ดอยู่เสมอๆ แต่นอกจากส้มตำแล้ว มะละกอก็ยังเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ทางยาอีกมากมาย เช่น ใบมะละกอสดนำมาย่างไฟและนำมาประคบช่วยแก้อาการปวดบวมได้ ใบใช้ต้มกินเพื่อขับปัสสาวะ เมล็ดต้มกินเพื่อขับพยาธิ ขับประจำเดือน ยางมะละกอแก่พิษตะขาบกัดแมลงสัตว์กัดต่อย รวมไปถึงช่วยหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย แต่สิ่งที่เรามักใช้ประโยชน์กับมะละกอมากที่สุดก็คงจะเป็นผลมะละกอ ที่กินได้ทั้งสุกและดิบ ผลดิบก็สามารถนำไปประกอบอาหารได้หลายอย่าง นอกจากส้มตำแล้วก็ยังนำไปต้มหรือนึ่งกินกับน้ำพริกชนิดต่างๆ จะนำไปผัดกับไข่ หรือจะแกงส้มมะละกอก็อร่อยไม่น้อย
ส่วนผลสุกนั้นต้องถือว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพได้เลยทีเดียว เพราะในผลสุกนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 แคลเซียม และที่สำคัญคือ สารเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงและทำให้ผิวพรรณดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอความแก่ และริ้วรอยก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย แก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงสายตา และที่สำคัญ มะละกอสุกนั้นช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แก้ท้องผูก ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย
ส่วนผลสุกนั้นต้องถือว่าเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพได้เลยทีเดียว เพราะในผลสุกนั้นอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 แคลเซียม และที่สำคัญคือ สารเบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยบำรุงและทำให้ผิวพรรณดียิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยชะลอความแก่ และริ้วรอยก่อนวัยอันควร แถมยังช่วยบำรุงอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย แก้กระหายน้ำ บำรุงโลหิต บำรุงระบบประสาท บำรุงสายตา และที่สำคัญ มะละกอสุกนั้นช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี แก้ท้องผูก ป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ด้วย
มะละกอ พืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม แม้ว่าช่วงที่ผ่านมาจะได้รับผลกระทบบ้างบางส่วนจากกระแสข่าวของการตัดต่อพันธุกรรมพืช แต่ก็มิใช่หมายความว่าทุกแปลงปลูกจะเป็นพืชที่ต้องถูกทำลายเพียงเพราะเป็นพืชที่ตัดต่อพันธุกรรม ในส่วนพื้นที่ภาคเหนือก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีการปลูกมะละกอกระจายอยู่เกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกมะละกอพันธุ์เรดเลดี้ ทั้งนี้ เพราะมะละกอเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพอากาศ การดูแลไม่ยุ่งยาก สามารถสร้างรายได้ให้ในระยะเวลาอันสั้นเพียง 6 เดือน ก็สามารถเก็บผลผลิตขายได้
เรดเลดี้ (RED LADY) มะละกอลูกผสมเบอร์ 786 เป็นมะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่เปิดตัวสายพันธุ์มากว่า 3 ปีแล้ว มะละกอสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตและติดผลเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตร ก็สามารถติดดอกออกผลได้เร็ว โดยในแต่ละต้นจะมีจำนวนผลดกเฉลี่ย 30 ผล ต่อต้น ลักษณะผลสั้นจนถึงยาวรี น้ำหนักเฉลี่ย 1,500 กรัม - 2,000 กรัม ผลที่เกิดจากต้นตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาสีส้มแดง กรอบ กลิ่นหอม ความหวาน 13 บริกซ์ เหมาะสำหรับการรับประทานสุกหรือดิบ ทนทานต่อการขนส่งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวน (Ring Spot) ที่เกิดจากไวรัสได้เป็นอย่างดี
เรดเลดี้ (RED LADY) มะละกอลูกผสมเบอร์ 786 เป็นมะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่เปิดตัวสายพันธุ์มากว่า 3 ปีแล้ว มะละกอสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตและติดผลเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตร ก็สามารถติดดอกออกผลได้เร็ว โดยในแต่ละต้นจะมีจำนวนผลดกเฉลี่ย 30 ผล ต่อต้น ลักษณะผลสั้นจนถึงยาวรี น้ำหนักเฉลี่ย 1,500 กรัม - 2,000 กรัม ผลที่เกิดจากต้นตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาสีส้มแดง กรอบ กลิ่นหอม ความหวาน 13 บริกซ์ เหมาะสำหรับการรับประทานสุกหรือดิบ ทนทานต่อการขนส่งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวน (Ring Spot) ที่เกิดจากไวรัสได้เป็นอย่างดี
จากความต้องการของท้องตลาดที่มีมากในปัจจุบัน ส่งผลให้มีการขยายแปลงปลูกมะละกอเรดเลดี้ มากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ ยังมีเสียงตอบรับจากเกษตรกรหลายรายที่ต้องการศึกษาและทราบข้อมูลเกี่ยวกับการปลูกมะละกอสายพันธุ์ลูกผสมอย่างเรดเลดี้ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้ทีมงานดำเนินการศึกษาและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับมะละกอสายพันธุ์ลูกผสมอย่างเรดเลดี้ เพื่อเผยแพร่ให้กับเกษตรกรและผู้สนใจได้ทราบ
โดย นายสุคนธ์ จีนประดับ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เล่าว่า มะละกอสายพันธุ์นี้ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จากประเทศไต้หวัน และมีการเรียกชื่อพันธุ์ตามลักษณะเด่นของมะละกอว่า RED LADY ซึ่งเป็นคำเรียกที่มีภาษาจีนว่า หงเฟย หรือนางสนมแดง ทำให้มะละกอสายพันธุ์นี้มีชื่อเรียกที่หลากหลาย ซึ่งบางแห่งก็เรียกมะละกอสายพันธุ์นี้ว่า สาวน้อยแก้มแดง และที่สำคัญขอยืนยันว่ามะละกอเรดเลดี้สายพันธุ์ที่ผลิตได้จากบริษัท เป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีการตัดต่อพันธุกรรมแต่อย่างใด จึงเป็นอีกจุดเด่นที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในปัจจุบันเป็นอย่างมาก เชียงดาวฮิลล์ฟาร์ม หนึ่งความสำเร็จจากการปลูกมะละกอเรดเลดี้
ในส่วนของการปลูกมะละกอเรดเลดี้ในจังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรให้ความสนใจมากและหันมาปลูกมากถึง 200 ราย ยกตัวอย่างเช่น แปลงปลูกมะละกอเรดเลดี้ ของนางสุนิสา วงศ์ไชย เจ้าของสวนเชียงดาว ฮิลล์ฟาร์ม เลขที่ 433 หมู่ที่ 2 กิโลเมตรที่ 87 ตำบลปิ่นโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสวนเชียงดาว ฮิลล์ฟาร์ม เป็นสวนเกษตรแบบผสมผสาน ภายในฟาร์มมีพืชหลากหลาย แต่ที่เด่นๆ จะเป็นมะละกอเรดเลดี้และองุ่น สำหรับมะละกอเรดเลดี้ที่นี่ มีอยู่ด้วยกัน 3 แปลง มีระบบการปลูกโดยใช้พลาสติกคลุมดินบนร่องเน้นระบบชิด เหตุที่เกษตรกรรายนี้เลือกมะละกอสายพันธุ์นี้ไปปลูกเนื่องจากเห็นผลแล้ว รูปทรงสีสันสวยงาม ให้ผลดก เนื้อในสีแดงเข้ม รสชาติหวานหอม จึงคิดที่จะปลูกในเชิงพาณิชย์ หลังจากที่ปลูกจำหน่ายไปแล้วผู้บริโภคยอมรับเรื่องรสชาติที่หอมหวาน มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์อื่นๆ ผลผลิตที่ออกมาจึงไม่เพียงพอกับความต้องการ สำหรับตลาดหลักของเชียงดาวฮิลล์ฟาร์ม นอกจากจะมีหน้าร้านเป็นของตัวเองอยู่หน้าฟาร์มแล้ว ยังมีการวางจำหน่ายอยู่ที่ร้านขายผลิตภัณฑ์ชีวภาพในตัวเมืองเชียงใหม่ด้วย
การขยายพันธุ์และการดูแลรักษาโดยทั่วไปแล้วมะละกอจะมีอยู่ 3 เพศคือ
1. มะละกอเพศผู้ มะละกอชนิดนี้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้
2. มะละกอเพศเมีย มะละกอชนิดนี้ให้ผลผลิตได้ แต่ผลกลม เนื้อบาง
3. มะละกอเพศกะเทย (สมบูรณ์เพศ) มะละกอชนิดนี้ให้ผลผลิตดีที่สุด
สำหรับวิธีการขยายพันธุ์ที่นิยมมากที่สุด แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ การเพาะเมล็ดและการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเมล็ดลงในกระบะทราย เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด ทรายที่ใช้ต้องเป็นทรายหยาบ สะอาด และเป็นทรายจืด เพาะเมล็ดโดยเตรียมกระบะไม้หรือกระบะพลาสติกที่มีรูระบายน้ำด้านล่าง รองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนึ่งชั้น เททรายลงในกระบะเกลี่ยให้เรียบ ความหนาประมาณ 2-3 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่มทำร่องบนทรายให้ลึก 1.5 เซนติเมตร ห่างกันแถวละ 1.5-2 นิ้ว
เมล็ดมะละกอที่จะหยอดต้องคลุกด้วยยาป้องกันเชื้อรา เช่น Apron 35 wp. คลุกเมล็ดให้เป็นสีชมพูจางๆ จะทำให้ต้นกล้าแข็งแรงไม่เป็นโรคโคนเน่าแล้วจึงโรยเมล็ดในร่องทราย กลบและใช้หลังมือตบเบาๆ ให้ทรายอัดตัว เมื่อเมล็ดงอก ทรายจะช่วยขัดสีไม่ให้เปลือกหุ้มเมล็ดติดต่อกับส่วนยอดของกล้า
เมื่อเพาะเมล็ดประมาณ 6 วัน เมล็ดจะงอก จากนั้นประมาณ 8-10 วัน ควรย้ายกล้าออกจากกระบะทรายลงไปในพลาสติกสีดำที่มีจำนวน 104 หลุม ใส่มีเดีย (วัสดุเพาะปลูกที่ใช้แทนดิน) ลงให้เต็มช่องหลุมได้ฟื้นตัวในเวลากลางคืน และใน 2-3 วันแรกของการเคลื่อนย้ายต้นกล้า ควรพรางแสงต้นกล้าด้วยซาแรน ขนาด 70 เปอร์เซ็นต์ ต้นกล้าจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และเมื่อฟื้นตัวดีแล้วจึงย้ายปลูก
มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากตื้นและกว้าง การเลือกพื้นที่ปลูกจึงควรเลือกพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดดตลอดวัน น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ง่าย มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปี มะละกอเป็นพืชที่ลูกดก หากมีธาตุอาหารและให้ปุ๋ยที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ภายใน 1 ปีจะให้ผลผลิตได้มากมาย ปุ๋ยที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตราประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อไร่ และสูตร 0-46-0 อัตราประมาณ 25 กิโลกรัม ต่อไร่ ปุ๋ยคอก เน้นปุ๋ยมูลไก่ อัตราประมาณ 800-1000 กิโลกรัม ต่อไร่ ธาตุอาหารเสริมที่จำเป็นและต้องใส่เมื่อเตรียมดินครั้งแรกด้วยคือ ธาตุโบรอน ในรูปของสารบอแรกซ์ อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่
การดูแลรักษา
การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ อย่าให้ขาดน้ำเพราะถ้ามะละกอขาดน้ำต้นอาจชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำมะละกอไม่ควรให้น้ำแฉะเกินไป เพราะมะละกอเป็นพืชไม่ชอบน้ำมากแต่ขาดน้ำไม่ได้
การพรวนดิน ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืช ในช่วงแรกอย่าให้มีวัชพืชรบกวนและต้องมีการกลบโคนต้นในช่วงหลังปลูกประมาณ 1 เดือน การทำไม้หลัก เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากเนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีลำต้นค่อนข้างอวบ ให้ผลผลิตและมีน้ำหนักมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำหลักเพื่อพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม ส่วนการไว้ผลและตัดแต่ง การปลูกมะละกอถ้าจะให้ได้คุณภาพผลผลิตที่ดี ควรทำการปลิดผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง เพราะนอกจากจะแย่งอาหารแล้วยังทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ
ส่วนวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์ของมะละกอเรดเลดี้ เบอร์ 786 จะได้ผลดีและมีคุณภาพมากกว่า เพราะมะละกอเรดเลดี้ เบอร์ 786 เป็นมะละกอที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาอย่างดีจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุด ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ผลดก เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติหวานหอม ลำต้นเตี้ย ทนทานต่อโรคแมลงเป็นอย่างดี และทุกต้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ นอกจากนี้ ยังทำให้ได้ต้นมะละกอพันธุ์ดี ตรงคุณภาพสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ลักษณะของผลมีความสม่ำเสมอ ต้นเตี้ย เมื่อต้นสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ก็สามารถติดผลได้ ที่สำคัญเนื้อแน่นทนทานต่อการขนส่งทางไกล
การพรวนดิน ควรมีการพรวนดินกำจัดวัชพืช ในช่วงแรกอย่าให้มีวัชพืชรบกวนและต้องมีการกลบโคนต้นในช่วงหลังปลูกประมาณ 1 เดือน การทำไม้หลัก เป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมากเนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีลำต้นค่อนข้างอวบ ให้ผลผลิตและมีน้ำหนักมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำหลักเพื่อพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม ส่วนการไว้ผลและตัดแต่ง การปลูกมะละกอถ้าจะให้ได้คุณภาพผลผลิตที่ดี ควรทำการปลิดผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง เพราะนอกจากจะแย่งอาหารแล้วยังทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ
ส่วนวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อขยายพันธุ์ของมะละกอเรดเลดี้ เบอร์ 786 จะได้ผลดีและมีคุณภาพมากกว่า เพราะมะละกอเรดเลดี้ เบอร์ 786 เป็นมะละกอที่ผลิตจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งผ่านการคัดเลือกพันธุ์มาอย่างดีจากต้นที่สมบูรณ์แข็งแรงที่สุด ส่งผลให้ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ผลดก เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติหวานหอม ลำต้นเตี้ย ทนทานต่อโรคแมลงเป็นอย่างดี และทุกต้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ นอกจากนี้ ยังทำให้ได้ต้นมะละกอพันธุ์ดี ตรงคุณภาพสายพันธุ์ ให้ผลผลิตสูง ลักษณะของผลมีความสม่ำเสมอ ต้นเตี้ย เมื่อต้นสูงประมาณ 40 เซนติเมตร ก็สามารถติดผลได้ ที่สำคัญเนื้อแน่นทนทานต่อการขนส่งทางไกล
ศัตรูและการป้องกัน
ถ้าพูดถึงศัตรูตัวสำคัญที่เป็นปัญหาในสวนมะละกอที่พบมากที่สุด คือ ไรแดง ซึ่งจะเข้าทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของมะละกอ เช่น ใบ ผล ดอก หรือส่วนอ่อนๆ ของพืช มักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้ง สามารถป้องกันได้โดย เมื่อมีการระบาดให้ตัดหรือเก็บส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยของไร เผาทำลาย หรือใช้สารเคมีประเภท อะคาร์ เคลเทน ไดฟอน และไอไมท์ โดยใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่บนฉลากยา
เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูที่สำคัญของมะละกออีกชนิดหนึ่ง มีลำตัวขนาดเล็ก เคลื่อนไหวได้เร็วมาก ทำลายโดยการดูดน้ำจากส่วนต่างๆ ของพืช เป็นพาหะของเชื้อไวรัส มักระบาดช่วงฤดูร้อน การป้องกันทำได้โดยการใช้สารเคมีกำจัด ซึ่งต้องเปลี่ยนชนิดของสารอยู่เสมอ ไม่ควรฉีดชนิดใดชนิดหนึ่ง ยาที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโซเอท คาร์โบซัลแฟน
นอกจากนี้ ยังรวมถึงเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของต้นมะละกอ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอกหรือส่วนอ่อนของลำต้น ที่สำคัญเพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงของมะละกอด้วย
สำหรับการป้องกันโรคใบด่าง เกษตรกรควรระมัดระวังอย่าให้น้ำมะละกอมากเกินไป ทั้งในระยะต้นกล้าและต้นโต ไม่ควรให้ปุ๋ยประเภทไนโตรเจนมากเกินไปเพราะจะทำให้ลำต้นอวบเปราะและหักง่าย และควรหมั่นตรวจแปลงปลูก ถ้าพบต้นที่เป็นโรคให้รีบทำลาย
เทคนิคในการปลูกมะละกอเรดเลดี้
นายสุคนธ์ เผยถึงเคล็ดลับในการปลูกมะละกอเรดเลดี้ว่า ก่อนปลูกเกษตรกรควรเตรียมแปลงปลูกให้มีสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมะละกอเรดเลดี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความสำคัญกับระบบราก เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีระบบรากตื้นและกว้าง การเลือกพื้นที่ปลูกจึงควรเลือกพื้นที่โล่งแจ้ง มีแสงแดดตลอดวัน น้ำไม่ท่วมขัง มีการระบายน้ำได้ง่าย มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปี ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นการช่วยลดปัญหาของโรครากเน่าและโรครากตื้นได้เป็นอย่างดี การปลูกควรปลูกมะละกอขณะที่ต้นมีขนาดเหมาะสม คือ สูง 10-15 เซนติเมตรไม่ควรนำต้นกล้าที่สูงมากกว่านี้ไปปลูก เพราะมะละกอเป็นพืชที่ออกดอกออกผลตรงซอกก้านใบ ถ้าปลูกจากเมล็ดต้องปลูก 2-3 ต้น ต่อหลุมปลูก 1 หลุม แล้วคัดเลือกเฉพาะมะละกอเพศกะเทยไว้ นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคใหม่ที่สำคัญคือ การปลูกมะละกอจาก Tissue cultur ซึ่งเป็นการปลูกที่ทุกต้นจะเป็นเพศกะเทยเหมือนกันหมด แต่ถ้าจะให้ดีต้องทำให้ใบเขียวเข้ม โดยใส่ปุ๋ยขี้ไก่อย่างเพียงพอ และต้องไม่ละเลยการใส่ปุ๋ยเคมีซึ่งต้องให้อย่างสม่ำเสมอ ควรมีการใช้พลาสติกคลุมดินเพื่อป้องกันแมลงและวัชพืช ที่สำคัญต้องให้ธาตุโบรอน (Boron) หากขาดธาตุอาหารนี้จะทำให้ยอดเหลืองซีด
เคล็ดลับเด็ดๆ ของการปลูกมะละกอเรดเลดี้
การปลูกมะละกอเรดเลดี้ให้ได้ผลสำเร็จ นอกจากจะมีเทคนิคและวิธีการปลูกที่เหมาะสมแล้ว ยังมีเคล็ดลับเด็ดๆ อีกด้วย โดยเฉพาะการรักษาใบมะละกอและส่วนยอดให้ดีที่สุด ห้ามเด็ดทิ้ง ควรเร่งให้มะละกอโตเร็วที่สุดในขณะที่ต้นเตี้ย โดยการเสริมปุ๋ยและธาตุอาหารอย่างพอเพียง และต้องให้มะละกอได้รับแสงอย่างพอเพียงตลอดทั้งวัน ประการสุดท้าย เกษตรกรควรเริ่มปลูกในเดือนมีนาคมของทุกปีเพื่อให้มะละกอสามารถออกผลในช่วงฤดูฝน
แนวทางการพัฒนาสายพันธุ์มะละกอเรดเลดี้
สำหรับแนวทางการพัฒนาสายพันธุ์มะละกอเรดเลดี้ ของทางบริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ขณะนี้อยู่ในช่วงดำเนินการทดสอบการปลูกมะละกอเรดเลดี้ ด้วยการกางมุ้ง จำนวน 2 ไร่ ซึ่งดำเนินการทดลองปลูกมาตั้งแต่เดือนเมษายน เหตุที่ปลูกกางมุ้งเพื่อต้องการศึกษาความเปลี่ยนแปลงจากการปลูกในพื้นที่โล่งที่มีแสงแดดจัด และเป็นการป้องกันแมลงรบกวนด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการเปรียบเทียบอุณหภูมิของการปลูกมะละกอเรดเลดี้กางมุ้งกับภายนอก ซึ่งมีความแตกต่างกันมากถึง 7 องศาเซลเซียส คาดว่าจะได้ผลการเปรียบเทียบต่างๆ จากการทดลองครั้งนี้ราวเดือนตุลาคม 2548 หากมีผลดีมากกว่าการปลูกแบบปกติโดยทั่วไป น่าจะเผยแพร่ให้เกษตรกรได้
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมล็ดพันธุ์ได้ที่ นายสุคนธ์ จีนประดับ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เลขที่ 43 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทรศัพท์ (053) 211-773, (053) 211-810, (01) 485-2451 หรือสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการทำสวนมะละกอได้ที่ นางสุนิสา วงศ์ไชย เจ้าของสวนเชียงดาว ฮิลล์ฟาร์ม เลขที่ 433 หมู่ที่ 2 กิโลเมตรที่ 87 ตำบลปิ่นโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
ข้อมูลทางการตลาดของ มะละกอ
ตลาด(แม่ค้า พ่อค้า) มีบทบาทในการกำหนด การพัฒนาสายพันธุ์ และการผลิต โดยเฉพาะมะละกอกินสุก เช่น
- ถ้า น้ำหนักเกิน สอง กก. ต่อผล (มาตรฐาน 1-2กก.) ราคาจะลดลงมาก 50-70%
- ทำให้ แขกดำ ดูด้อยลงในส่วนนี้ และในบางฤดู บางท้องที่ จะมีกลิ่นแรง ฉุน เกินกว่าค่ามาตรฐาน
- เร็ด เลดี้ เกือบทั้งหมด ผลิตจาก เนื้อเยื่อ ทำให้มีต้นทุนสูง แม้ว่าราคา จะสูงกว่าสายพันธุ์อื่น แต่ ถ้าปลูกในท้องที่ ฤดูกาล ที่ไม่เหมาะสม ความหวาน รสชาด จะไม่สม่ำเสมอ ทำให้ หลายๆครั้ง ไม่ติดใจ และไม่สมกับราคา
- พันธุ์ ฮอร์แลนด์ (ไม่ว่า จะ ปลักไม้ลาย หรือ อื่นๆ) อยู่ตรงกลาง มีความเด่นในเรื่อง เนื้อแน่น กลิ่น และความหวาน เกือบทุกฤดู (ลูกเหมือน ฟัก ต้นที่สอง ต้นกระเทย)(ลูกกลม มาจากต้นตัวเมีย ราคาต่ำลง)
- เวลาเราซื้อ กล้าจากเนื้อเยื่อ สามารถ ทดลองต่อยอด กับมะละกอพื้นบ้านทั่วๆไป จะทำให้ได้ จำนวนเพิ่ม 3เท่า( 1ต้นกล้าเนื้อเยื่อ จะได้ scion 3 ท่อน %ติด มากกว่า 90%) และจะให้ต้นมีความแข็งแรงเท่ากับ ดีกว่า เตี้ยกว่า สายพันธุ์นั้น (โดยทั่วไป จะเป็น เร็ดเลดี้)
- แขกดำ และฮอร์แลนด์ ส่วนมากขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด ควรจะเพาะในถุง 3-5เมล็ด ประมาณ ไม่เกิน เดือนครึ่ง ย้ายปลูกได้ หลังจาก ย้ายปลูก 2เดือน จะทำการเลือกต้นที่ต้องการ ต้นกระเทยไว้ โดยทั่วไป ต้นที่โตเร็ว และสูงในช่วงนั้น จะเป็นต้นตัวเมีย (ส่วนต้นตัวผู้ คงไม่ต้องอธิบาย ว่าจะทำอย่างไร)
- การปลูก มะละกอ นอกจาก ดินต้องอุดมสมบูรณ์ แล้ว จะต้องไม่แน่น ระยะปลูก ห่างจะได้ผลผลิตสูง สมบูรณ์กว่า เช่น 2.5 x 3.5 เมตร
- ทดสอบดู ว่า ปลูกเดือนไหน ให้ออก เดือนตุลาคม ช่วงนั้นจะมีผลไม้ รสชาดหวานๆ เช่นมะละกอกินสุก น้อย จะทำให้ สามารถทำรายได้ เป็นหลักได้
- มะละกอ เป็นพืชผักกินผลที่ให้รายได้สูงสุดต่อต้น ต่อพื้นที่ และทุกๆสวนพอเพียงพึงต้องมี ไม่ว่าจะกินดิบ กินสุก ทยอยปลูกไปเรื่อยๆ
10. ปุ๋ยหมักพอเพียง เหมาะกับการปลูกมะละกอมากๆ
11. แน่นอน ปัญหาไวรัส เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง และน้ำท่วมขัง เป็นปัญหาหลักในการผลิตมะละกอ ต้องมีการสังเกตดูแล หลายๆอย่าง ถ้าจะไม่ใช่สารเคมีใดๆ
12. ที่สวนยังเพิ่งเริ่มการ ทดลองย่อย การปลูกมะละกอ ในการทำโครงการพอเพียง และจะพยายามให้ออกรุ่นแรกตั้งแต่ ตุลาคม ของทุกๆปี เนื่องจาก ปัญหาบางประการจึง ทำการปลูกแต่ละรุ่นเพียง 50-80ต้น ทุกๆ สองเดือนครั้ง เพราะอยากจะเตรียม หลุมปลูก(ค่อนข้างกว้าง และใช้ฟางข้าวรองก้นหลุม และกลบโคนต้นข้างบนช่วย เพราะ ดินทรายจัด) และต้นกล้าให้ได้ดี เท่ามาตรฐานทั่วไป เพราะการไม่ได้ใช้สารอะไรจะได้ดูแลง่าย (และทดสอบ พืชที่สามารถปลูกร่วมกับ มะละกอ ในชั้นต้น เลือก ตะไคร้ พริกกะเหรี่ยง มะเขือเปราะ และมันเทศกินยอด(พันธุ์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ทดสอบเพียงไม่กี่หลุม)
พันธุ์มะละกอ ก่อให้เกิดเงินล้าน
มะละกอ เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเพราะมะละกอเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมบริโภคทั้งผลดิบและผลสุก ทั่วทั้งประเทศไม่มีภาคไหนไม่บริโภคมะละกอ มะละกอใช้ประโยชน์ทางด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง เช่น เนื้อมะละกอดิบ สามารถนำไปประกอบอาหาร อย่างเช่นส้มตำที่กินกันทุกครัวเรือน มะละกอแช่อิ่ม ดองเค็ม ผลมะละกอสุกทานเป็นผลไม้ และแปรรูปเป็นน้ำผลไม้ ซอส ผลไม้กระป๋อง แยม ลูกกวาด เปลือกมะละกอใช้เป็นอาหารสัตว์ สีผสมอาหาร ยางมะละกอใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเบียร์ ผลิตน้ำปลา อาหารกระป๋อง อุตสาหกรรมเคมีและเครื่องสำอางเป็นต้น
มีการปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจตามความต้องการของตลาดเป็นจำนวนมาก แต่ก็ต้องยอมแพ้ไปไม่ถึงดวงดาวเพราะมะละกอมีโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้คือ โรคจุดวงแหวนซึ่งถ้าสวนไหนโรคนี้เข้าแล้วมักจะเสียหายทั้งแปลง ทำให้ผู้ปลูกค่อนข้างเข็ดขยาดกับการปลูกมะละกอ ซึ่งสมัยก่อนจะมีการปลูกมะละกอกันแทบทุกบ้าน แต่เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยมีคนกล้าปลูกเพราะกลัวโรคนี้กันทั้งนั้น จึงมีการนำเข้าสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาปลูกทดแทนซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมะละกอทานสุกเป็นส่วนใหญ่ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์
มะละกอทานสุก
1 มะละกอพันธุ์ฮอลแลนด์ ลักษณะทั่วไปของมะละกอฮอลแลนด์ลำต้นใหญ่ กลางใบมีกระโดงใบ 1 ใบ ดอกออกเป็นช่อ ติดผลดก อายุเก็บเกี่ยว 8 เดือน น้ำหนักประมาณ 2-3กิโลกรัมต่อผล เนื้อสีแดงอมส้ม ไม่เละ เนื้อหนา 2.5-3.0 เซนติเมตร ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ผลผลิตต่อต้น 60-80 กิโลกรัม ผิวเรียบ เก็บผลผลิตเมื่อลูกเริ่มเป็นแต้มสีส้ม ผลผลิตราว 5-8ตัน ต่อไร่ ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10 – 18 บาทต่อกิโลกรัม ความต้องการของตลาดสูง แต่ปัจจุบันมีผู้หันมาปลูกพันธุ์นี้กันเยอะมาก ทำให้ราคาตลาดค่อนข้างผันผวน
2 มะละกอพันธุ์เรดเลดี้(red lady) เป็นมะละกอลูกผสมพันธุ์ใหม่ที่เปิดตัวสายพันธุ์มากว่า 3 ปีแล้ว มะละกอสายพันธุ์นี้มีจุดเด่นคือ ให้ผลผลิตและติดผลเร็ว ลำต้นสูง 80 เซนติเมตรก็สามารถติดดอกออกผลได้เร็ว โดยในแต่ละต้นมีจำนวนผลดกเฉลี่ย 30 ผลต่อต้น ลักษณะผลสั้นจนถึงยาวรี น้ำหนักเฉลี่ย 1,500 – 2000 กรัม ผลที่เกิดจากต้นตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง เนื้อหนาสีส้มแดง กรอบ กลิ่นหอม ความหวาน 13 บริกซ์ เหมาะสำหรับรับประทานสุกหรือดิบ ทนทานต่อการขนส่งได้ดี เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเร็ว ต้านทานโรคใบจุดวงแหวนที่เกิดจากไวรัสได้เป็นอย่างดี ราคาตลาดรับซื้อกิโลกรัมละ 10-18 บาทต่อกิโลกรัม ความต้องการของตลาดเป็นที่นิยมอีกสายพันธุ์หนึ่ง แต่ราคากล้าค่อนข้างแพงและหายากทำให้มีผ็คนให้ความสำคัญน้อยกว่าพันธุ์ฮอลแลนด์
3 มะละกอพันธุ์ขอนแก่น 80 เป็นพันธุมะละกอที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ให้มีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนซึ่งเป็นการผสมข้ามพันธุ์โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรขอนแก่น ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ต้นเตี้ยมีความสูงเฉลี่ย 1.32 เมตร ผลแรกเริ่มสุกภายใน 7 เดือน โดยให้ผลผลิต 6,300 กิโลกรัมต่อไร่ ผลมีขนาดเล็ก น้ำหนักเฉลี่ย 770 กรัม ผิวเป็นมัน เปลือกเรียบ เนื้อแน่น สุกช้า ทนทานต่อการขนส่ง เมื่อผลสุกเนื้อมีสีแดงอมส้ม รสชาติหอมหวาน ความหวานเฉลี่ย 13.12 องศาบริกซ์ทั้งยังมีความทนทานต่อโรคจุดวงแหวนดีด้วย แต่ความต้องการของตลาดภายในประเทศยังมีน้อย แต่ตลาดส่งออกมีการส่งไปขายยังประเทศฮ่องกง ไต้หวันแทนมะละกอฮาวาย อนาคตคาดว่าจะมีศักยภาพที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกเป็นการค้าเพื่อกินสุกทั้งภายในประเทศและส่งออก
4 มะละกอพันธุ์ปากช่อง 1 พัฒนาสายพันธุ์โดยสถานีวิจัยปากช่อง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีลักษณะประจำพันธุ์คือ ลำต้นสีเขียวปนม่วงเล็กน้อย ใบมี 7 แฉกใหญ่ กว้าง 50-60 เซนติเมตร ยาว 45-50 เซนติเมตร ก้านใบสีเขียวปนม่วงยาว 70-75 เซนติเมตร อายุ 8 เดือน ก็เริ่มเก็บผลได้ มีน้ำหนักผล 350-500 กรัม เนื้อสีส้มหนา 1.8 เซนติเมตร เมื่อสุกเนื้อไม่เละและมีรสหวาน กลิ่นหอม เปอร์เซ็นต์ความหวาน 12-14 องศาบริกซ์ ในระยะเวลา 18 เดือน จะให้ผลผลิตต้นละ 30-40 กิโลกรัม ค่อนข้างทนต่อโรคใบด่าง การตลาดยังไม่ค่อยแพร่หลาย แต่ความต้องการของตลาดต่างประเทศสูง
5 มะละกอพันธุ์แขกดำ เป็นพันธุที่ได้รับความนิยมในอดีต แต่เนื่องจากอ่อนแอต่อโรคจุดวงแหวน ได้ถูกการพัฒนาไปผสมข้ามพันธุ์กับต่างประเทศจนเกิดเป็นพันธุ์แขกดำท่าพระ เป็นมะละกอ GMO ทำให้เกิดปัญหาขึ้นทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนในข้อมูลทำให้การบริโภคพันธุ์นี้มีน้อยลง เนื้อสุกสีแดงส้มแต่เนื้อเละ มีกลิ่นค่อนข้างรุนแรง
ทำให้ในปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้ปลูกสักเท่าไร
ปลูกมะละกอทานสุกกันเป็นจำนวนมาก เป็นเหตุให้มะละกอดิบขาดตลาด ซึ่งการบริโภคมะละกอดิบนั้นมีทุกวัน ทุกครัวเรือน เพราะถือว่าเป็นอาหารประจำชาติ จนทุกวันนี้ราคาขายของมะละกอดิบที่ชาวบ้านต้องซื้อกันถึง กิโลกรัมละ 15 บาท ยังหาไม่ค่อยจะ ดังนั้น บริษัท โปร- กรุ๊บ คอนซูเมอร์ โปรดักส์ จำกัด จึงได้ทำการวิจัยและหาข้อมูลเพื่อหาพืชเศรษฐกิจที่จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกสามารถลืมตาอ้าปากได้จึงส่งเสริมการปลูกมะละกอทานดิบ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดในปัจจุบัน ความต้องการของตลาดค่อนข้างสูง จึงอยากจะแนะนำมะละกอทานดิบให้แก่สมาชิกได้พิจรณาดังนี้
มะละกอทานดิบ
1.มะละกอพันธุ์ครั่ง เป็นมะละกอไทยเพื่อทำส้มตำโดยเฉพาะเป็นสายพันธุ์มะละกอที่ศูนย์และพัฒนาอาชีพการเกษตร จังหวัดมหาสารคามสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่4 จังหวัดขอนแก่น กรมส่งเสริมการเกษตร ได้พัฒนาสายพันธุ์เพื่อการผลิตเป็นมะละกอดิบใช้ทำสำหรับส้มตำโดยเฉพาะ ด้วยลักษณะเด่นตรงที่เป็นมะละกอที่ให้ผลผลิตสูงหลังจากย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงใช้เวลาปลูกเพียง 5-6 เดือน เริ่มเก็บเกี่ยวผลดิบจำหน่ายเป็นมะละกอส้มตำได้ เนิองของมะละกอพันธุ์ครั่งจะมีความกรอบและรสชาติหวาน เมื่อเก็บผลดิบลงมาจากต้นจะคงสภาพในอุณหภูมิปกติโดยไม่เหี่ยว ปัจจุบันมีความต้องการในตลาดสูงแต่จากการสังเกตุลักษณะของการออกดอกและติดผลของมะละกอสายพันธุ์นี้คือในช่วงเดือนที่ 9 หลังปลูกลงดินผลผลิตจะหมดในรุ่นแรกหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าหมดคอแรก ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวทำให้ไม่สามารถให้ผลผลิตได้ต่อเนื่อง
2.มะละกอพันธุ์แขกนวลดำเนิน เป็นมะละกอที่ในวงการส้มตำถือว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทำส้มตำได้อร่อยที่สุดเนื่องจากมีความกรอบและหวานกว่ามะละกอที่ทำส้มตำทุกพันธุ์ ทำให้ราคาในตลาดสำหรับมะละกอพันธุ์นี้พุ่งไปถึงกิโลกรัมละ 15-18 บาทในปัจจุบัน ราคาที่พ่อค้าเข้าไปซื้อถึงสวน ณ ปัจจุบันให้ราคาถึงกิโลกรัมละ 5 บาทสำหรับมะละกอดิบแล้วถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก ซึ่งลักษณะเด่นของมะละกอแขกนวล ดำเนิน นั้นเป็นมะละกอทานดิบหรือมะละกอส้มตำให้ผลผลิตในรุ่นแรกที่อายุ 5 เดือนขึ้นไป ซึ่งผลผลิตที่ได้ในเบื้องต้นประมาณต้นละ 20-30กิโลกรัมต่อต้นต่อเดือนโดยจะเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนละ 2-3 ครั้ง และสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถ้าการดูแลการจัดการเรื่องธาตุอาหารดีจะไม่ทำให้เกิดอาการขาดคอรวงสามารถให้ผลผลิตต่อเนื่องถึง 2 ปี นับว่าเป็นมะละกอที่จัดได้ว่าเป็นที่พืชเศรฐกิจที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คุ้มค่าต่อการลงทุน อีกทั้งตลาดยังมีความต้องการสูง เฉลี่ยต่อต้นแล้วผลผลิตที่ได้เท่ากับต้นละ200-300กิโลกรัมต่อต้นต่อปี ถ้า 1 ไร่ปลูกระยะห่าง 2x2 เมตร 1ไร่ปลูก 400 ต้นจะได้ผลผลิตเฉลี่ย8-10ตันต่อไร่ต่อปี ถ้าราคาตลาดรับซื้อที่กิโลกรัมละ 4 บาท จะได้รายได้โดยประมาณ320,000-400,000 บาทต่อไร่ ซึ่งการเก็บมะละกอพันธุ์นี้ จะเก็บตอนน้ำหนักประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัมซึ่งถือว่าเป็นมะละกอที่ยังอ่อนมากทำให้การเข้าทำลายของโรคจุดวงแหวนน้อยลง จึงถือว่าเป็นมะละกอที่เกษตรกรน่าจะหันมาทดลองปลูกดู ซึ่งการปลูกสามารถทำได้ดังนี้
ดำเนินการปลูกมะละกอแขกนวล ดำเนิน นิยมปลูกโดยวิธีการเพาะเมล็ดแล้วย้ายกล้าลงแปลงปลูกเมื่อต้นกล้ามีอายุได้ประมาณ 1 เดือน
วิธีการเพาะเมล็ด
- นำเมล็ดมะละกอแช่น้ำอุ่น 60 องศา แล้วแช่ต่อด้วย pro-1 ทิ้งไว้ 1 คืน สังเกตดูเมล็ดจะบวม พอง
- นำเมล็ดมะละกอมาเพาะในถุงดินที่เตรียมไว้โดยใช้ถุงดำขนาด 5x8 นิ้ว ใส่วัสดุปลูกประกอบด้วยดิน 1 ส่วน ปุ๋ยชีวภาพ 1 ส่วน และ แกลบดำ 1 ส่วน คลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยใส่เมล็ดมะละกอที่แช่แล้วถุงละ 3 เมล็ด
- รดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ7-10 วันเมล็ดก็จะเริ่มงอก
- ทำการรดน้ำพอชุ่มวันละครั้ง
- เมื่อเมล็ดงอกเป็นต้นกล้าแล้ว ให้พ่น pro-1 หลังจากงอกได้ 7วัน
- ฉีด โปร-ฟอส ทุกๆ 7 วันจนถึงย้ายกล้า
ขั้นตอนการเตรียมดินและปลูกมะละกอพันธุ์แขกนวล ดำเนิน
- ทำการเตรียมพื้นที่ โดยการไถด้วยผาน 3 แล้วฉีดกระตุ้นการแตกของเมล็ดหญ้าด้วยน้ำหมักชีวภาพแล้วหว่านด้วยแกลบขี้ไก่ประมาณ 400-600กิโลกรัมต่อไร่ และหว่านตามด้วยปูนโดโลไมท์ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ธาตูโบรอน ในรูปของสารบอแรกซ์ อัตร 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ หว่านวัสดุปรับปรุงดินให้ทั่วแล้วฉีดด้วยน้ำหมักชีวภาพ แล้วไถกลบ ทิ้งไว้ประมาณ5-7 วันจะมีเมล็ดหญ้าแตกขึ้นมา ก็ทำการไถพรวนด้วยผาน 7 อีกครั้งหนึ่ง
- มะละกอพันธุ์นี้ชอบดินร่วนปนทราย ดินเหนียวปนดินร่วน หรือดินร่วนที่มีการระบายน้ำดี มีอินทรียวัตถุมาก ไม่ชอบน้ำขัง และควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ช่วงระดับความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมคือ 5.5-7 มะละกอไม่ทนดินเกลือไม่ทนลม แหล่งปลูกจึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีลมแรง มะละกอพันธืนี้จะเจริญเติบโตได้ดี ถ้าได้รับแสงแดดเต็มที่ มะละกอมีก้านใบยาวและกลุ่ใบจะมีมากที่ยอด จึงไม่ควรปลูกมะละกอให้ชิดกันเกินไป จะทำให้ไม่สะดวกในการป้องกันกำจัดศัตรูของมะละกอ
- ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2.5x2.5 เมตร หรือ 3x3 เมตรแหล่งปลูกมะละกอควรอยู่ใกล้เมืองหรือมีทางคมนาคมสะดวก เนื่องจากผลผลิตที่ได้ค่อนข้างมีปริมาณมากจะทำให้การขนส่งได้สะดวก
- หลังจากไถด้วยผาน 7 แล้วควรฉีดพื้นให้ทั่วด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อป้องกันเชื้อที่อยู่ในดิน
การเตรียมแปลงปลูก
- วัดระยะแปลงปลูกตามความต้องการ ควรปักหลักเล็ก ๆ ห่างจากหลักหลุมปลูก อีก2 หลัก โดยปักให้ห่างข้างละ 50 เซนติเมตร
- ขุดหลุมปลูกเป็นรูปสี่เหลี่ยมให้ขอบหลุมห่างจากหลักกลางประมาณ 25 เซนติเมตร และขุดลึก 50 เซนติเมตร เอาดินขึ้นไว้บนปากหลุมอย่าให้โดนหลักเล็กทั้ง 2 ซึ่งจะเป็นหลักบังคับระยะปลูก
- ใส่ปุ๋ยคอกเก่า ๆ หรือปุ๋ยชีวภาพ ประมาณ 1 พลั่วหรือครึ่งบุ้งกี๋ลงบนดินที่ขุดขึ้นมา ใส่แร่เทคโตมิคหลุมละ1 กำมือ ใส่ ร๊อคฟอตเฟตลงไปอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วใช้จอบกลบดินลงหลุมให้เสมอปากหลุม
- ก่อนปลูก หาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1 เมตร ทำเครื่องหมายที่ตำแหน่ง 0.50 เมตรและ 1 เมตรเป็นเครื่องหมายต้นปลูก เพื่อให้แถวปลูกตรงกันทุกต้น
วิธีการปลูก
- ให้นำต้นกล้าเรียงกระจายไว้ตามหลุมต่าง ๆ หลุมละหนึ่งถุง หลังจากนั้นกรีดถุงพลาสติกออก เอาต้นกล้าวางให้ตรงตำแหน่งระยะปลูกกลางหลุม กลบดินให้แน่น โดยเฉพาะรอบ ๆ โคนต้นเพื่อให้รากจับดินใหม่ได้เร็ว ต้นจะตรงกันทุกแถวแล้วรดน้ำให้ชุ่ม
- เมื่อย้ายลงหลุมแล้ว 1 วันให้ฉีด pro-1 เบอร์1และเบอร์2 สเปรย์บาง ๆ หลังจากนั้นให้ฉีดคลุมแมลงด้วย บีเอ็ม โปร เพื่อกำจัดไข่และตัวอ่อนและไส้เดือนฝอยรากปมไว้ก่อน
การให้ปุ๋ย
- หลังจากปลูกมะละกอได้ประมาณ 1 เดือน แล้วเพื่อให้มะละกอเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องควรให้ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0 อัตรา 5 กิโลกรัมผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 5 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม แล้วหว่านรอบต้น ต้นละ 50 กรัมต่อต้น ทุกๆ 15 วันต่อหนึ่งครั้ง
- ในช่วงเดือนแรก จำเป็นที่จะต้องฉีด บี เอ็ม โปร เพื่อกำจัด เพลี้ยไฟ ไรแดง เพลี้ยอ่อน แมลงหวี่ขาวซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคจุดวงแหวนไว้ทุก ๆ 7-15 วัน สลับด้วยเมจิคกับมิราเคิลโปร ทุก ๆ 15 วัน
- ในเดือนที่ 2 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ย เป็นสูตร 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยสูตร15-15-15 อัตรา 7 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่เทคโตมิค 1 กิโลกรัม หว่านรอบต้น ต้นละ 50 กรัมต่อต้น
- ทางใบให้ฉีดโปร-ฟอส อัตรา 1 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตรทุก ๆ 7 วัน เดือนที่ 2 ฉีด โปร -1 อีก หนึ่งครั้ง สังเกตดูการเจริญเติบโต
- ในเดือนที่ 3 จะเริ่มติดดอก ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 18 กิโลกรัม ผสมกับ 0-0-60 อัตรา 2 กิโลกรัม คลุกด้วยแร่เทคโตมิค 2 กิโลกรัม หว่านให้ทั่ว ๆ
- ทางใบ ให้ฉีดทำดอกด้วยปุ๋ย สูตร 0-52-34 อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรผสมด้วยเมจิคโปร อัตรา 20 ซี ซีต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดทุก 7-15 วัน จะทำให้มีดอกอย่างต่อเนื่อง ตลอดให้ฉีดสูตรนี้ทุกเดือนจะทำให้มะละกอมีดอกตลอดไม่ขาดคอรวง และฉีดโปร-1 เดือนละครั้งในทุกเดือน ผลมะละกอจะขยายอย่างต่อเนื่อง
- ในเดือนที่ 4 จะเริ่มติดผลเล็ก ช่วงนี้อย่าให้ขาดน้ำ และใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 20 กิโลกรัมคลุกด้วยแร่โปร-ฟอส อัตรา 2 กิโลกรัม หว่านต้นละ 200 กรัมต่อต้น ทุก ๆ 15 วันไปตลอด โดยสังเกตถึงสีของใบเป็นหลัก ถ้ารู้สึกว่าใบเหลือง ให้ผสม ปุ๋ย 46-0-0 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมด้วย เมจิคโปรอัตรา 20 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร
- ทางใบให้ฉีด บี เอ็ม โปร เพื่อป้องกันแมลงและแมลงหวี่ขาว ฉีดสลับกับเบสน์ชอยย์เพื่องป้องกันโรคเกี่ยวกับเชื้อราต่าง ๆ ไว้ เพราะช่วงนี้เมื่อติดลูกจะเริ่มมีเชื้อราเริ่มเข้าทำลาย
- ในระยะที่ปลูกมะละกอใหม่ ๆ เกษตรกรสามารถปลูกพืชแซมร่วมกับมะละกอในช่องว่างระหว่างแถว ระหว่างต้น เมื่อมีวัชพืชขึ้น การดายหญ้าพืชแซมควรดายหญ้ามะละกอไปด้วย แต่การดายหญ้าด้วยจอบควรระวังคมจอบสับต้นหรือรากมะละกอ จะทำให้ต้นมะละกอชะงักการเจริญเติบโต หรือทำให้เกิดโรครากเน่าได้ ทางที่ดีควรใช้เศษหญ้าแห้งหรือฟางข้าวคลุมโคนให้หนา ๆ จะทำให้ไม่มีเมล็ดหญ้างอกใหม่ การปลูกมะละกอนั้นไม่ควรใช่ยากำจัดวัชพืชโดยเด็ดขาด เพราะมะละกอนั้นอ่อนไหวต่อยากำจัดวัชพืชมาก
- การกำจัดวัชพืชนั้น สามารถใช้ปุ๋ย ยูเรีย ปริมาณ 4 กิโลกรัมผสมน้ำ 20 ลิตรฉีดวัชพืชในเวลากลางวัน แต่ต้องใส่หัวครอบไม่ให้ฟุ้งกระจายไปโดนใบมะละกอโดยเด็ดขาดจะทำให้ใบไหม้ได้ เมื่อฉีดไปแล้วให้หว่านแร่เทคโตมิคตามลงไปเพื่อจับปุ๋ยกลับมาให้มะละกอได้กินใหม่ ไม่เสียเปล่า
การออกดอกติดผล
- มะละกอเป็นพืชที่มีดอก 3 ชนิดอยู่คนละต้น คือ
- ต้นตัวผู้ จะมีดอกตัวผู้ล้วนเป็นจำนวนมากอยู่บนก้านช่อยาวที่แตกแขนง ถ้าพบควรตัดทิ้งไปเพราะไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลได้ก็ไม่สามารถจำหน่ายได้คุ้มค่าเท่าต้นตัวเมีย ห
- ต้นตัวเมีย จะมีแต่ดอกเพศเมียเท่านั้น ดอกจะออกมาจากส่วนมุมด้านใบติดลำต้น เป็นดอกเดี่ยวหรือดอกช่อ รังไข่มีรูปร่างป้อม ให้ผลค่อนข้างกลม ช่องว่างในผลมีมากจึงไม่ค่อยนิยมเช่นกัน
- ต้นสมบูรณ์เพศ หรือต้นกระเทย จะมีช่อดอกติดกันเป็นกลุ่ม ต้นสมบูรณ์เพศจะมีดอกสมบูรณ์เพศและดอกตัวผู้อยู่ในช่อดอกเดียวกัน และดอกสมบูรณ์เพศจะมี 3 ชนิดตามตำแหน่งของเกสรตัวผู้ ดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดาทำให้ผลมีรูปร่างทรงกระบอกสวย เป็นที่นิยมของตลาด ผลที่เกิดจากดอกสมบูรณ์เพศที่ดอกตัวผู้ติดอยู่กับรังไข่ทำให้ผลบิดเบี้ยวและดอกสมบูรณ์เพศที่ทำให้ผลเป็นพลูลึก ผลจากดอกสมบูรณ์เพศสองชนิดหลังนี้ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ดังนั้นเกษตรกรผู้ปลูก ต้องหมั่นคอยตรวจดูและปลิดออกตั้งแต่ผลยังเล็ก ๆ นอกจากนั้นแม้ว่ามีดอกสมบูรณ์เพศชนิดธรรมดา แต่ถ้าช่อดอกแตกแขนงและติดผลดก ผลจะเบียดกันมาก ทำให้ผลเล็กได้ จึงขอแนะนำให้เด็ดผลที่อยู่ที่แขนงบข้างออก ให้เอาไว้แต่ผลที่ปลาย ช่อดอกจึงจะได้ผลใหญ่สม่ำเสมอกันทั้งต้น ถ้าทำทั้งสวนจะทำให้มีขนาดผลเกินมาตรฐาน จะสามารถขายง่ายและป้องกันการโค่นล้มได้อีกด้วย
- ดังนั้นเมื่อมะละกอที่ปลูกเมื่อมีดอกแล้วจึงจำเป็นต้องคัดให้เหลือต้นที่มีดอกสมบูรณ์เพศเท่านั้น
โรคและแมลงของมะละกอ
- ไรแดง มีลักษณะคล้ายแมงมุม มี 6 ขา ตัวเล็กมาก จะมีใยคล้าย ๆ แมงมุมอยู่บริเวณยอด หรือเข้าทำลายโดยดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของมะละกอ เช่น ใบ ผล ดอก หรือส่วนอ่อน ๆ ของพืช มักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อน และแห้ง ถ้าพบระบาดมากสามารถใช้สารเคมีประเภท ไดฟอน โอไมท์ พอสซ์ ไดโนทีฟูเรน โดยใช้ตามคำแนะนำที่ติดอยู่บนฉลากยา หรือป้องกันด้วยการฉีด บี เอ็ม โปร ป้องกันกำจัดไข่และตัวอ่อนไว้ก่อน ก็จะไม่พบการระบาด
- เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูที่สำคัญของมะละกออีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของพืชเป็นพาหะของเชือไวรัส มักระบาดช่วงฤดูร้อน การป้องกันทำได้โดยการฉีดบี เอ็ม โปร สลับกับการฉีดสารเคมีกำจัดซึ่งต้องเปลี่ยนสารอยู่เสมอ ไม่ควรฉีดชนิดใดชนิดหนึ่ง ยาที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโธเอท ตาร์โบซัลแฟน โปรวาโด้ อิมิดาคลอพริด เอสเซนน์
- เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยมีลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของต้นมะละกอ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอกหรือส่วนอ่อนของลำต้น ที่สำคัญเพลี้ยอ่อนยังเป็นพาหะก่อให้เกิดโรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงของมะละกอด้วย การป้องกันควรฉีด คลอไพริฟอสผลมดับปิโตเลียม ออยย์ หรือฉีด บี เอ็ม โปรป้องกันไว้ตลอด
- แมลงหวี่ขาว เป็นพาหะสำคัญอีกตัวหนึ่ง มักจะดูดน้ำเลี้ยงและปากเป็นพาหะให้เกิดโรคไวรัสวงแหวนได้ มักจะพบเวลาช่วงเช้าหรือเย็นเมื่อเดินแล้วพบการบินของแมลงปีกขาว ๆ เล้ก ๆ แสดงว่าพบการระบาดแล้ว เมื่อพบการระบาดควรพ่นกำจัดด้วย พอสซ์ สตาร์เกิล หรือพ่นสลับด้วย บี เอ็ม โปร ให้ฉีดให้ทั่วทั้งบริเวณหญ้าด้วย
- เพลี้ยแป้ง มักจะพบระบาดในช่วงฤดูแล้ง เกาะดูดน้ำเลี้ยงใต้ใบ ใบจะหงิก หด จะเข้าเกาะกินบริเวณตาทำให้ลำต้นบิดเบี้ยว ถ้ากินผล ผลจะบิดเบี้ยว ถ้าระบาดมากทำให้ต้นมะละกอตายได้ การกำจัด ใช้เคมี เอสเซนต์ผสมด้วยไวท์ออยย์ หรือ คลอไพริฟอสผสมด้ยไวท์ออยย์ หรือฉีดสลับกับ บี เอ็ม โปร
- โรคของมะละกอที่น่ากลัวมีดังนี้
- โรคใบด่างจุดวงแหวน เกิดจากเชื้อ Papaya ringspot virus เชื้อเข้าทำลายได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ เข้าต้น จะทำให้ต้นแคระแกร็น ใบด่างเหลือง บิดเบี้ยวเสียรูป ใบจะหงิกงอเรียวเล็กเหมือนหางเรือใบ จะเหลือแต่เส้นใบดูเหมือนเส้นด้าย และต้นกล้าอาจตายได้หรือไม่เจริญเติบโตในต้นที่โตแล้วใบบิดเบี้ยว หงิกงอ ยอดและใบมีสีเหลืองกว่าต้นที่ไม่เป็นโรค และจะสังเกตเห็นลักษณะจุดหรือทางยาวสีตามก้านใบ ลำต้น การติดผลจะไม่ดีหรือไม่ติดเลย ถ้าเข้าผลมะละกออาจบิดเบี้ยว มีจุดลักษณะเป็นวงแหวน ทั่วทั้งผล แผลมีลักษณะคล้ายสะเก็ด โรคนี้สามารถแพร่ระบาดไปได้โดยมีเพลี้ยอ่อนหลายชนิดเป็นพาหะ โดยเพลี้ยอ่อนจะดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่เป็นโรคเชื้อไวรัสจะติดอยู่กับส่วนปากแมลง ๆย้ายไปดูดน้ำเลี้ยงจากต้นที่ไม่เป็นโรค ก็จะถ่ายเชื้อไวรัส การถ่ายทอดโรคนี้ใช้เวลาสั้นมาก ภายหลังจากมะละกอได้รับเชื้อไวรัสแล้วประมาณ 15-30 วินาที ก็จะแสดงอาการของโรค การป้องกันและกำจัด ต้องใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาฉีดที่แปลงปลูกก่อนที่จะปลูกมะละกอ และฉีดป้องกันด้วยเบสน์ชอยน์อยู่เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของไวรัส และต้องคอยหมั่นตรวจดูอย่าให้พบเพลี้ยอ่อน ถ้าพบระบาดต้องรีบกำจัด ถ้าเป็นมากต้องถอนทิ้งและเผาทำลาย ถ้าเริ่มแสดงอาการบางต้นให้พ่นสารเคมีประเภท โพลคลอราช+พิโคลนาโซน +สารโปร -1 จึงจะฟื้นตัวได้
- โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum gioeosporeioides ลักษณะอาการของโรค ใบ จะเป็นจุดขอบแผลสีน้ำตาล เนื้อเยื่อส่วนกลางจะมีสีซีดจาง และมักจะขาดเป็นรูทะลุในเวลาต่อมา มักพบจุดดำเล็ก ๆ กระจายทั่วบริเวณแผล ซึ่งคือส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรา ผล เห็นได้ชัดเมื่อเกิดกับผลสุก จะเกิดลักษณะแผลกลมฉ่ำน้ำ และยุบลงในแผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือสีชมพูเป็นวงชั้น ๆ บริเวณแผลและแผลจะลุกลามขยายตัวไปทั่ว ทำให้ผลมะละกอเน่าเสียในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพอากาศอบอ้าว การป้องกัน ควรฉีดสารเคมีตระกูล ดาโคนิล หรือแอนทราโคล หรือโพลคลอราช+คาร์เบนดาซิมถ้าป้องกันใช้เบสน์ชอยน์ฉีดตั้งแต่เริ่มติดผลจะทำให้ไม่เกิดอาการของโรคได้
ดังนั้นการปลูกมะละกอจะว่ายากก็ยากจะว่าง่าย ก็ง่าย ทั้งนี้อยู่ที่การดูแลเอาใจใส่ในรายละเอียดในทุกขั้นตอนของการปลูก การป้องกันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด การทำให้พืชแข็งแรงตั้งแต่ต้น การให้ปัจจัยการเจริญเติบโตอย่างถูกวิธี การเก็บเกี่ยวอย่างถูกวิธี การเตรียมแปลงและกำจัดพาหะอยู่สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ผลผลิตออกมาได้คุมค่าต่อการลงทุน หวังว่าเกษตรกรคงได้รับประโยชน์จากแนวทางการปลูกนี้ไม่มากก็น้อย
ด้วยความปรารถนาดี
อาจารย์เล็ก PRO-1
ตัวอย่างเกษตรกรปลูกมะละกอพันธุ์เรดเลดี้
รอยต่อระหว่างจังหวัดตากไปลำปาง สองข้างทาง ดูไม่ร่มรื่นนัก โดยเฉพาะที่อำเภอสามเงา ทั้งนี้เป็นเพราะอยู่ในอิทธิพลของเงาฝน กระนั้นก็ตาม เมื่อเลี้ยวลึกเข้าไปตามซอกซอย จะเห็นแปลงปลูกฝรั่ง กล้วยไข่ รวมทั้งมะละกอ เกษตรกรอาศัยความอุดมสมบูรณ์ที่แม่น้ำวังไหลผ่าน สำหรับทำการเกษตร มะละกอที่ปลูกกัน ทำรายได้ให้ดี โดยเฉพาะพันธุ์เรดเลดี้ คุณสมจิตต์ บุญมาวงศ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายเขตภาคเหนือ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด ให้ข้อมูลว่า พื้นที่ปลูกมะละกอพันธุ์เรดเลดี้ ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก กำแพงเพชร นครศรีธรรมราช กระบี่ และจังหวัดอื่นๆ
ลักษณะประจำพันธุ์ "เรดเลดี้"
เรดเลดี้ เป็นสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จุดเด่นคือให้ผลผลิตเร็ว ลำต้นสูง 60-80 เซนติเมตร ก็เริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลผลิตมากกว่า 40-50 ผล ต่อต้น ต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคใบด่างวงแหวนได้ดี
ผลที่เกิดจากดอกตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง ผลที่เกิดจากดอกกะเทย ผลมีลักษณะยาว เนื้อหนา น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อสุก มะละกอเรดเลดี้มีกลิ่นหอม ความหวาน 13 องศาบริกซ์
ผลสุกทนทานต่อการขนส่ง
คุณสมจิตต์ บอกว่า ผู้ปลูกมะละกอเรดเลดี้ ปัจจุบันส่งโรงงานและส่งตลาดกินสุก อย่างที่จังหวัดกระบี่ และนครศรีธรรมราช เมื่อมีผลผลิตนำส่งโรงแรมแถบจังหวัดภูเก็ตและหาดใหญ่ หากผลผลิตไม่สวยส่งเข้าโรงงานแปรรูป
เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อขายปัจจุบัน กิโลกรัมละ 145,000 บาท ปลูกได้ 200 ไร่ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทจะบรรจุซอง ซองละ 5 กรัม มีราว 380-480 เมล็ด ปลูกได้ในพื้นที่ 1 ไร่
พบเกษตรกรผู้ปลูก
คุณนรินทร์ นบนอบ เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 102 หมู่ที่ 10 ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ปลูกมะละกอในพื้นที่ 8 ไร่ เจ้าตัวบอกว่า เดิมเป็นลูกจ้าง ต่อมาเถ้าแก่ลงทุนให้ พื้นที่ 8 ไร่ ลงทุนหมื่นเศษๆ เป็นค่าไถที่ เมล็ดพันธุ์ รวมทั้งปุ๋ย
วิธีปลูกมะละกอเรดเลดี้ เริ่มจากไถดิน แล้วยกแปลงกว้าง 3 เมตร ระหว่างแปลงเป็นร่องน้ำกว้างราว 50 เซนติเมตร จากนั้นปลูกมะละกอลงไปที่สันร่อง ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 1.50-2 เมตร เมื่อหักพื้นที่บางส่วนออกไป 1 ไร่ ปลูกได้ราว 300 ต้น
ต้นกล้าที่ปลูกใช้เวลาเพาะราว 1 เดือน เมื่อปลูกไปแล้ว 8 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้
การดูแลรักษานั้น คุณนรินทร์ บอกว่า ใช้ปัจจัยการผลิตไม่มาก ปุ๋ยเริ่มใส่ให้เมื่อปลูกไปแล้ว 2 เดือน เป็นสูตร 15-15-15 จำนวนต้นละ 1 กำมือ
"มะละกอที่ปลูก เก็บได้จนอายุ 2 ปี รวมแล้วเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม ต่อต้น ลูกหนึ่งมีตั้งแต่ 5 ขีด ถึง 2 กิโลกรัม ตั้งแต่ที่ทำมา ราคาต่ำสุด 2 บาท สูงสุด 8 บาท ผมว่าปลูกแล้วมีรายได้ดี เก็บทุกๆ 7 วัน มะละกอส่งโรงงาน กิโลกรัมละ 2 บาท หากคัดผลผลิตแล้วห่อเป็นมะละกอกินสุก กิโลกรัมละ 5 บาท ดีนะผมว่าใช้ได้"
คุณนรินทร์บอก และเล่าต่ออีกว่า
"ผมเป็นคนอยุธยา มาได้แฟนอยู่ที่นี่ 20 ปีแล้ว ผมเก็บเดือนกว่าๆ ได้ 60,000 บาท ไม่ค่อยได้พ่นยา เพราะเราเก็บบ่อย เรดฯ รสชาติดี หวาน ผมกินประจำ ทำส้มตำได้"
ล้งมะละกอ
คุณจรัส และ คุณศิริพักตร์ จันทบุรี อยู่บ้านเลขที่ 171/4 หมู่ที่ 3 ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เริ่มสนใจปลูกมะละกอเรดเลดี้มาตั้งแต่ปี 2548 เดิมครอบครัวนี้ปลูกข้าวโพดแป้ง (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ข้าวโพดหวาน กล้วยไข่
คุณจรัส เล่าว่า ตนเองอ่านพบในหนังสือ ทราบว่ามะละกอเรดเลดี้ให้ผลผลิตดี ต้านทานโรค จึงขึ้นไปซื้อเมล็ดพันธุ์โดยตรงที่เชียงใหม่ นำมาปลูกเฉพาะของตนเอง 10 ไร่ รวมของพี่ๆ น้องๆ ด้วย เป็น 30 ไร่ เมื่อเริ่มเก็บผลผลิตได้ 2 เดือน ได้เงิน 400,000 บาท ปรากฏว่าน้ำท่วม เสียหายหมด
เมื่อได้ทดลองปลูกและมีความมั่นใจ ปีต่อๆ มา คุณจรัสและคุณศิริพักตร์จึงนำเมล็ดพันธุ์มาปล่อยให้เกษตรกรแถบนั้นปลูก พร้อมกับรวบรวมผลผลิตส่งต่อให้กับผู้ซื้ออีกทีหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็น "ล้ง" นั่นเอง ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกในกลุ่มของคุณจรัสและคุณศิริพักตร์ รวมแล้วมีประมาณ 300 ไร่ เกษตรกรที่ปลูกมีพื้นที่ตั้งแต่ 3-10 ไร่
คุณศิริพักตร์ พูดถึงตลาดมะละกอเรดเลดี้ว่า ราว 70 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตส่งโรงงาน บริษัทรับซื้อเข้าไปทำผลไม้รวมและมะละกออบแห้ง ที่เหลือส่งตลาดมะละกอสุก ซึ่งจะคัดผลสวย ห่อด้วยหนังสือพิมพ์ การห่อนี้ ห่อหลังจากเก็บผลผลิตแล้ว ที่ผ่านมาตลาดไม่ค่อยยอมรับมะละกอที่เกิดจากดอกตัวเมีย ซึ่งผลกลม แต่ปัจจุบันยอมรับกันแล้ว เพราะรสชาติไม่แตกต่างกัน ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรแถบยกกระบัตรไม่สูงนัก บางราย 8 ไร่ ลงทุนราว 14,000 บาท เท่านั้น
ระหว่างปี ทางเจ้าของล้งบอกว่า มะละกอมีมากเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลก ช่วงนี้มะละกอราคาดี ช่วงที่มะละกอมีน้อยเดือนเมษายน ราคากลับไม่ดี ทั้งนี้เป็นเพราะโรงงานซื้อมะละกอน้อย เขาซื้อมะม่วงไปแปรรูป จากนั้นก็เป็นช่วงของเงาะ
"ตอนนี้โรงงานมารับไป 10 ราย มะละกอกินสุก 6 ราย มาจากตลาดไท สี่มุมเมือง เชียงใหม่ ราชบุรี ขอนแก่น มาครั้งหนึ่งก็ 3 ตัน ต่อคัน มะละกอโรงงานถ้าเราซื้อ 3 บาท ส่ง 4 บาท มะละกอกินสุก ถ้าซื้อ 5 บาท ขาย 6 บาท ได้ 1 บาท เป็นค่าการจัดการ" คุณจรัส บอก
"ช่วงที่มะละกอมีน้อย เดือนเมษายน อาทิตย์ละ 3-5 ตัน แต่ช่วงมีมากๆ วันหนึ่งเป็น 10-20 ตัน" คุณศิริพักตร์ พูดถึงการซื้อขายมะละกอ
คุณสมจิตต์ บอกว่า ราคามะละกอมีขึ้นมีลง อย่างกินสุก หากเกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 6-8 บาท เกษตรกรก็พอใจแล้ว ส่วนมะละกอโรงงานที่ผ่านมาถือว่าพอใช้ได้
แนวทางการผลิตมะละกอเรดเลดี้ของเกษตรกรแถบอำเภอสามเงา ปัจจัยการผลิตเหมาะสม อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูง
ผู้สนใจอยากปลูกมะละกอเรดเลดี้ ถามไถ่กันได้ที่เกษตรกร ตามที่อยู่ หรือโทร. (087) 803-4775
ส่วนผู้อ่านที่อยากทราบว่า ตนเองอยู่จังหวัดนั้น จังหวัดนี้ ปลูกได้ไหม สอบถามได้ที่ คุณสมจิตต์ บุญมาวงศ์ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เลขที่ 43 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. (053) 211-773, (053) 211-810, (053) 217-180 หรือ (087) 759-5181
ปลูกมะละกอเรดเลดี้ ให้ได้ผลดี
มะละกอ (Papaya) อยู่ในตระกูล Caricaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carica papaya
สภาพภูมิอากาศ
มะละกอ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศทุกสภาพ และดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขังจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แต่ถ้าเป็นดินเหนียวควรปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และระบายน้ำให้ดีเสียก่อน ความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.0-6.8
การเพาะกล้า
การเพาะเมล็ดลงในกระบะทราย วิธีการโดยเตรียมกระบะไม้หรือกระบะพลาสติค ขนาด 40x60x10 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) ที่มีรูระบายน้ำด้านล่าง รองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนึ่งชั้น ใส่ทราย (ทรายก่อสร้างที่ร่อนเอาเศษหินและไม้ออกแล้ว) ความหนา ประมาณ 2-3 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม ทำร่องลึก 1 เซนติเมตร ห่างกันแถวละ 5 เซนติเมตร โรยเมล็ดลงไป (เมล็ดควรจะคลุมด้วยยาออร์โธไซด์) จากนั้นกลบร่อง ใช้เศษฟางข้าวที่สะอาดปิดคลุมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม หลังจากเมล็ดเริ่มงอก 3-5 วัน ให้รีบเอาฟางข้าวออก หลังจากหยอดเมล็ดได้ 10-14 วัน ต้นกล้ามีใบเลี้ยง 2 ใบ ให้ถอนย้ายลงปลูกในถุงดินหรือในถาดเพาะต่อไป การรดน้ำในช่วงการเพาะเมล็ดนี้จำเป็นต้องใช้บัวที่มีฝอยละเอียด และรดทุกวันอย่าให้ทรายแห้งเป็นอันขาด
การย้ายกล้าลงในถุงดิน
การย้ายกล้าลงในถุงดิน ให้เตรียมถุงดินโดยใช้ถุงพลาสติค ขนาด 4x4 นิ้ว หรือ 4x6 นิ้ว เจาะรูตรงมุมด้านล่างทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ ดินผสมที่ใช้ประกอบด้วย ดิน 3 ปุ้งกี๋ ขี้วัวเก่า 1 ปุ้งกี๋ ปุ๋ยสูตร 0-46-0 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันและกรอกลงในถุงดิน นำถุงดินไปวางเรียงบนแปลงขนาดกว้าง 1.2 เมตร (เรียงได้ 10-15 ถุง) เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและการคลุมต้นกล้า เพื่อป้องกันแสงแดดและฝน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้ามะละกอที่ถอนจากกระบะทรายลงปลูกถุงละ 1 ต้น การย้ายกล้าควรกระทำในตอนเย็นหรือขณะที่แสงแดดน้อย หลังการย้ายกล้าให้รดน้ำตามอีกหนึ่งรอบ ทำหลังคาคลุมด้วยวัสดุที่พลางแสง ทิ้งไว้ 3-4 วัน พอต้นกล้าเริ่มติดและตั้งตัวแข็งแรงก็เริ่มเปิดที่พลางแสงออก แต่ทุกเย็นหรือขณะฝนตกต้องคลุมแปลงกล้าด้วยพลาสติคใสเพื่อป้องกันฝน ควรรดน้ำต้นกล้าทุกวัน และฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อแมลงมารบกวน ประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงได้
การย้ายกล้าลงในถาดเพาะกล้า
ให้ใช้ถาดเพาะกล้าพลาสติคสีดำ ที่มีจำนวน 104 หลุม ใส่มีเดีย (วัสดุใช้แทนดิน) ลงให้เต็มช่องหลุมแล้วปรับให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้าที่ถอนออกจากกระบะทรายลงปลูกให้เต็มถาดเพาะ จะเห็นว่าวิธีการใช้ถาดเพาะกล้านี้ง่ายและสะดวก สามารถทำในที่ร่มและเก็บไว้ในที่ร่ม 3-4 วัน แล้วจึงย้ายไปวางเรียงในแปลงกลางแจ้งและทำหลังคาคลุมพลาสติคเพื่อป้องกันฝนตก ดูแลเหมือนวิธีแรก ประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกได้ วิธีนี้จะช่วยในการขนย้ายต้นกล้าไปยังแปลงปลูกได้สะดวกกว่า
การเตรียมแปลงปลูกและการย้ายปลูก
มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ควรไถดินให้ลึก ใช้ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 2-2.5 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่ ขุดร่องเป็นรูปตัววี ลึกประมาณหนึ่งหน้าจอบ รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 500-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ฟูราดาน อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ สารบอแรกซ์ อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยลงในร่องตัววี แล้วกลบยกเป็นแปลงนูนรูปโค้งหลังเต่า สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร คลุมด้วยพลาสติคสีบรอนซ์หรือคลุมด้วยฟางข้าว จากนั้นกำหนดระยะปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 1.5-2.0 เมตร แล้วขุดหลุมปลูก รดน้ำหลุมให้ชุ่ม จากนั้นย้ายต้นกล้าลงปลูก ในหลุมปลูกรดน้ำตามอีก 1 รอบ การปลูกระวังอย่าปลูกลึกเกินไปอาจทำให้ต้นกล้าตายได้
การดูแลรักษา
1. การใส่ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นขณะเตรียมแปลง สูตร 15-15-15 อัตรา ประมาณ 50 กิโลกรัม ต่อไร่
ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา ประมาณ 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยการโรยข้างต้น ห่างโคนต้น 30-40 เซนติเมตร แล้วกลบโคนต้น หลังย้ายปลูกประมาณ 1 เดือน
ครั้งที่ 3 หลังจากปลูกประมาณ 3-4 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตรา ประมาณ 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยคอก เช่น ขี้ไก่ อัตราประมาณ 500 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยการโรยที่ร่องแปลงแล้วกลบโคนต้นหรือจะฝังระหว่างต้นก็ได้
2. การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพออย่าให้ขาดน้ำ เพราะถ้ามะละกอขาดน้ำต้นอาจจะชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำมะละกอไม่ควรให้น้ำแฉะเกินไป เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำมาก แต่ขาดน้ำไม่ได้
3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช
ควรมีการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ในช่วงแรกอย่าให้วัชพืชรบกวน และต้องมีการกลบโคนต้นในช่วงหลังปลูกประมาณ 1 เดือน
4. การทำไม้หลัก
เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีลำต้นค่อนข้างอวบ ให้ผลผลิตและมีน้ำหนักมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำหลักเพื่อพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม
5. การไว้ผลและการตัดแต่ง
การปลูกมะละกอถ้าจะให้ได้คุณภาพผลผลิตที่ดี ควรปลิดผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง เพราะนอกจากจะแย่งอาหารแล้ว ยังทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ
การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย
มะละกอ สามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งผลดิบและผลสุก แล้วแต่ความต้องการของตลาด ถ้าต้องการผลดิบสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุก หลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ควรเลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีส้มหรือเหลืองปนเขียว ขณะที่ผลที่ไม่นิ่มหลังจากเก็บเกี่ยวควรห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อรักษาผิวของผลมะละกอไม่ให้ช้ำและเสียหายได้
ศัตรูและการป้องกันกำจัด
ไรแดง เป็นศัตรูของมะละกอ ลักษณะการทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของมะละกอ เช่น ใบ ผล ดอกหรือส่วนอ่อนๆ ของพืช มักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้ง
การป้องกันกำจัด
- เมื่อมีการระบาด ให้ตัดหรือเก็บส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยของไรแล้วเผาทำลาย
- ทำลายพืชอาศัยบริเวณข้างเคียง
- ใช้สารเคมีประเภทฆ่าไร เช่น อะคาร์ เคลเทน ไดฟอน และไอไมท์ ใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ โดยฉีดพ่นหรือใช้กำมะถันผงฉีดพ่น
เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูที่สำคัญของมะละกออีกชนิดหนึ่งที่มีลำตัวขนาดเล็ก เคลื่อนไหวไวมาก ทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืชและเป็นพาหนะของเชื้อไวรัส มักจะระบาดช่วงที่มีอากาศร้อนในฤดูแล้ง
การป้องกันกำจัด เนื่องจากเพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีการเคลื่อนไหวเร็วและสามารถสร้างความต้านทานต่อยาฆ่าแมลง ดังนั้น การใช้สารเคมีกำจัดจึงต้องเปลี่ยนชนิดของยาอยู่เสมอ ไม่ควรใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ยาที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโซเอท คาร์โบซัลแฟน โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ
เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของต้นมะละกอ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอกหรือส่วนอ่อนของลำต้น เพลี้ยอ่อนเป็นพาหนะของเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงของมะละกอ
การป้องกันกำจัด โดยการทำลายพืชอาศัยหรือโดยการทำลายมดซึ่งเป็นตัวพาหะให้เพลี้ยอ่อนไประบาด ใช้สารเคมี ป้องกันกำจัด เช่น ฉีดพ่นด้วยยาพวกคาร์โบซัลแฟน มาลาไธออน โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ
โรคของมะละกอ
โรคใบด่าง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ หรือโดยการสัมผัสต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ยังไม่เป็นโรค
ลักษณะอาการ เริ่มแรกใบยอดเหลืองซีด มีเส้นใบหยาบหนา ต่อมาแผ่นใบจะด่างเป็นคลื่น เขียวเข้มสลับเขียวอ่อนมองเห็นชัดเจน ใบมีขนาดเล็กม้วนงอ ใบหด ถ้าเป็นกับต้นอ่อนมะละกอจะแคระแกร็น ใบล่างเหลืองและร่วงหล่น ส่วนยอดจะโกร๋นเมื่อเป็นอย่างรุนแรง แต่ถ้าเป็นมะละกอที่โตแล้ว การผสมของดอกจะไม่ติด หรือผลที่ติดแล้วจะมีลักษณะอาการด่างเป็นจุดดวงแหวนทั่วทั้งผล ผิวเป็นจุดรอยช้ำๆ
การป้องกัน
- หมั่นตรวจแปลงปลูก ถ้าพบต้นที่เป็นโรคก็ให้รีบทำลาย โดยการถอนทำลายนำไปเผาไฟหรือฝังให้ลึก
- กำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค เช่น เพลี้ยอ่อนและกำจัดพืชอาศัย เช่น วัชพืชที่อยู่รอบๆ แปลงปลูก
โรคเน่าของต้น สาเหตุเกิดจากเชื้อรา โรคนี้มักระบาดอย่างรุนแรงในช่วงที่อากาศร้อน อุณหภูมิสูงและความชื้นในบรรยากาศสูง เช่น ช่วงฤดูฝนหรือการให้น้ำในแปลงปลูกมากเกินไป มักจะระบาดในช่วงของต้นกล้าและหลังการย้ายปลูก
ลักษณะอาการ ใบจะเหลืองซีดและร่วงหล่นเหลือแต่ส่วนยอด บริเวณรากเกิดอาการเน่าและบริเวณโคนต้นที่ติดกับผิวดินจะเน่า ต้นจะหักล้ม ต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เน่าเป็นสีน้ำตาลถึงดำ
การป้องกันกำจัด
- ระวังอย่าให้น้ำมะละกอมากเกินไป ทั้งในระยะต้นกล้าและต้นโต
- ไม่ควรให้ปุ๋ยประเภทไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้ลำต้นอวบ เปราะ และหักง่าย
- เตรียมดินให้ร่วนซุย ยกแปลงปลูกให้สูงทำทางระบายน้ำให้ดีอย่าให้น้ำท่วมขัง
ลักษณะประจำพันธุ์ "เรดเลดี้"
เรดเลดี้ เป็นสายพันธุ์หนึ่ง ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก จุดเด่นคือให้ผลผลิตเร็ว ลำต้นสูง 60-80 เซนติเมตร ก็เริ่มให้ผลผลิตแล้ว ผลผลิตมากกว่า 40-50 ผล ต่อต้น ต้านทานไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคใบด่างวงแหวนได้ดี
ผลที่เกิดจากดอกตัวเมียจะมีลักษณะกลม-สั้น เนื้อสีส้มแดง ผลที่เกิดจากดอกกะเทย ผลมีลักษณะยาว เนื้อหนา น้ำหนักผลเฉลี่ย 1.5-2 กิโลกรัม เมื่อสุก มะละกอเรดเลดี้มีกลิ่นหอม ความหวาน 13 องศาบริกซ์
ผลสุกทนทานต่อการขนส่ง
คุณสมจิตต์ บอกว่า ผู้ปลูกมะละกอเรดเลดี้ ปัจจุบันส่งโรงงานและส่งตลาดกินสุก อย่างที่จังหวัดกระบี่ และนครศรีธรรมราช เมื่อมีผลผลิตนำส่งโรงแรมแถบจังหวัดภูเก็ตและหาดใหญ่ หากผลผลิตไม่สวยส่งเข้าโรงงานแปรรูป
เมล็ดพันธุ์ที่ซื้อขายปัจจุบัน กิโลกรัมละ 145,000 บาท ปลูกได้ 200 ไร่ ส่วนใหญ่แล้วบริษัทจะบรรจุซอง ซองละ 5 กรัม มีราว 380-480 เมล็ด ปลูกได้ในพื้นที่ 1 ไร่
พบเกษตรกรผู้ปลูก
คุณนรินทร์ นบนอบ เกษตรกรอยู่บ้านเลขที่ 102 หมู่ที่ 10 ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก ปลูกมะละกอในพื้นที่ 8 ไร่ เจ้าตัวบอกว่า เดิมเป็นลูกจ้าง ต่อมาเถ้าแก่ลงทุนให้ พื้นที่ 8 ไร่ ลงทุนหมื่นเศษๆ เป็นค่าไถที่ เมล็ดพันธุ์ รวมทั้งปุ๋ย
วิธีปลูกมะละกอเรดเลดี้ เริ่มจากไถดิน แล้วยกแปลงกว้าง 3 เมตร ระหว่างแปลงเป็นร่องน้ำกว้างราว 50 เซนติเมตร จากนั้นปลูกมะละกอลงไปที่สันร่อง ใช้ระยะระหว่างต้นระหว่างแถว 1.50-2 เมตร เมื่อหักพื้นที่บางส่วนออกไป 1 ไร่ ปลูกได้ราว 300 ต้น
ต้นกล้าที่ปลูกใช้เวลาเพาะราว 1 เดือน เมื่อปลูกไปแล้ว 8 เดือน สามารถเก็บผลผลิตได้
การดูแลรักษานั้น คุณนรินทร์ บอกว่า ใช้ปัจจัยการผลิตไม่มาก ปุ๋ยเริ่มใส่ให้เมื่อปลูกไปแล้ว 2 เดือน เป็นสูตร 15-15-15 จำนวนต้นละ 1 กำมือ
"มะละกอที่ปลูก เก็บได้จนอายุ 2 ปี รวมแล้วเก็บได้ไม่ต่ำกว่า 100 กิโลกรัม ต่อต้น ลูกหนึ่งมีตั้งแต่ 5 ขีด ถึง 2 กิโลกรัม ตั้งแต่ที่ทำมา ราคาต่ำสุด 2 บาท สูงสุด 8 บาท ผมว่าปลูกแล้วมีรายได้ดี เก็บทุกๆ 7 วัน มะละกอส่งโรงงาน กิโลกรัมละ 2 บาท หากคัดผลผลิตแล้วห่อเป็นมะละกอกินสุก กิโลกรัมละ 5 บาท ดีนะผมว่าใช้ได้"
คุณนรินทร์บอก และเล่าต่ออีกว่า
"ผมเป็นคนอยุธยา มาได้แฟนอยู่ที่นี่ 20 ปีแล้ว ผมเก็บเดือนกว่าๆ ได้ 60,000 บาท ไม่ค่อยได้พ่นยา เพราะเราเก็บบ่อย เรดฯ รสชาติดี หวาน ผมกินประจำ ทำส้มตำได้"
ล้งมะละกอ
คุณจรัส และ คุณศิริพักตร์ จันทบุรี อยู่บ้านเลขที่ 171/4 หมู่ที่ 3 ตำบลยกกระบัตร อำเภอสามเงา จังหวัดตาก เริ่มสนใจปลูกมะละกอเรดเลดี้มาตั้งแต่ปี 2548 เดิมครอบครัวนี้ปลูกข้าวโพดแป้ง (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์) ข้าวโพดหวาน กล้วยไข่
คุณจรัส เล่าว่า ตนเองอ่านพบในหนังสือ ทราบว่ามะละกอเรดเลดี้ให้ผลผลิตดี ต้านทานโรค จึงขึ้นไปซื้อเมล็ดพันธุ์โดยตรงที่เชียงใหม่ นำมาปลูกเฉพาะของตนเอง 10 ไร่ รวมของพี่ๆ น้องๆ ด้วย เป็น 30 ไร่ เมื่อเริ่มเก็บผลผลิตได้ 2 เดือน ได้เงิน 400,000 บาท ปรากฏว่าน้ำท่วม เสียหายหมด
เมื่อได้ทดลองปลูกและมีความมั่นใจ ปีต่อๆ มา คุณจรัสและคุณศิริพักตร์จึงนำเมล็ดพันธุ์มาปล่อยให้เกษตรกรแถบนั้นปลูก พร้อมกับรวบรวมผลผลิตส่งต่อให้กับผู้ซื้ออีกทีหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็น "ล้ง" นั่นเอง ปัจจุบันเกษตรกรผู้ปลูกในกลุ่มของคุณจรัสและคุณศิริพักตร์ รวมแล้วมีประมาณ 300 ไร่ เกษตรกรที่ปลูกมีพื้นที่ตั้งแต่ 3-10 ไร่
คุณศิริพักตร์ พูดถึงตลาดมะละกอเรดเลดี้ว่า ราว 70 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตส่งโรงงาน บริษัทรับซื้อเข้าไปทำผลไม้รวมและมะละกออบแห้ง ที่เหลือส่งตลาดมะละกอสุก ซึ่งจะคัดผลสวย ห่อด้วยหนังสือพิมพ์ การห่อนี้ ห่อหลังจากเก็บผลผลิตแล้ว ที่ผ่านมาตลาดไม่ค่อยยอมรับมะละกอที่เกิดจากดอกตัวเมีย ซึ่งผลกลม แต่ปัจจุบันยอมรับกันแล้ว เพราะรสชาติไม่แตกต่างกัน ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรแถบยกกระบัตรไม่สูงนัก บางราย 8 ไร่ ลงทุนราว 14,000 บาท เท่านั้น
ระหว่างปี ทางเจ้าของล้งบอกว่า มะละกอมีมากเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลก ช่วงนี้มะละกอราคาดี ช่วงที่มะละกอมีน้อยเดือนเมษายน ราคากลับไม่ดี ทั้งนี้เป็นเพราะโรงงานซื้อมะละกอน้อย เขาซื้อมะม่วงไปแปรรูป จากนั้นก็เป็นช่วงของเงาะ
"ตอนนี้โรงงานมารับไป 10 ราย มะละกอกินสุก 6 ราย มาจากตลาดไท สี่มุมเมือง เชียงใหม่ ราชบุรี ขอนแก่น มาครั้งหนึ่งก็ 3 ตัน ต่อคัน มะละกอโรงงานถ้าเราซื้อ 3 บาท ส่ง 4 บาท มะละกอกินสุก ถ้าซื้อ 5 บาท ขาย 6 บาท ได้ 1 บาท เป็นค่าการจัดการ" คุณจรัส บอก
"ช่วงที่มะละกอมีน้อย เดือนเมษายน อาทิตย์ละ 3-5 ตัน แต่ช่วงมีมากๆ วันหนึ่งเป็น 10-20 ตัน" คุณศิริพักตร์ พูดถึงการซื้อขายมะละกอ
คุณสมจิตต์ บอกว่า ราคามะละกอมีขึ้นมีลง อย่างกินสุก หากเกษตรกรขายได้กิโลกรัมละ 6-8 บาท เกษตรกรก็พอใจแล้ว ส่วนมะละกอโรงงานที่ผ่านมาถือว่าพอใช้ได้
แนวทางการผลิตมะละกอเรดเลดี้ของเกษตรกรแถบอำเภอสามเงา ปัจจัยการผลิตเหมาะสม อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่สูง
ผู้สนใจอยากปลูกมะละกอเรดเลดี้ ถามไถ่กันได้ที่เกษตรกร ตามที่อยู่ หรือโทร. (087) 803-4775
ส่วนผู้อ่านที่อยากทราบว่า ตนเองอยู่จังหวัดนั้น จังหวัดนี้ ปลูกได้ไหม สอบถามได้ที่ คุณสมจิตต์ บุญมาวงศ์ บริษัท เพื่อนเกษตรกร จำกัด เลขที่ 43 ถนนราชพฤกษ์ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. (053) 211-773, (053) 211-810, (053) 217-180 หรือ (087) 759-5181
ปลูกมะละกอเรดเลดี้ ให้ได้ผลดี
มะละกอ (Papaya) อยู่ในตระกูล Caricaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Carica papaya
สภาพภูมิอากาศ
มะละกอ สามารถเจริญเติบโตได้ดีในอากาศทุกสภาพ และดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี น้ำไม่ท่วมขังจะเจริญเติบโตได้ดีกว่า แต่ถ้าเป็นดินเหนียวควรปรับปรุงสภาพดินให้ร่วนซุย และระบายน้ำให้ดีเสียก่อน ความเป็นกรดด่างของดินอยู่ระหว่าง 6.0-6.8
การเพาะกล้า
การเพาะเมล็ดลงในกระบะทราย วิธีการโดยเตรียมกระบะไม้หรือกระบะพลาสติค ขนาด 40x60x10 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) ที่มีรูระบายน้ำด้านล่าง รองด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์หนึ่งชั้น ใส่ทราย (ทรายก่อสร้างที่ร่อนเอาเศษหินและไม้ออกแล้ว) ความหนา ประมาณ 2-3 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม ทำร่องลึก 1 เซนติเมตร ห่างกันแถวละ 5 เซนติเมตร โรยเมล็ดลงไป (เมล็ดควรจะคลุมด้วยยาออร์โธไซด์) จากนั้นกลบร่อง ใช้เศษฟางข้าวที่สะอาดปิดคลุมไว้ รดน้ำให้ชุ่ม หลังจากเมล็ดเริ่มงอก 3-5 วัน ให้รีบเอาฟางข้าวออก หลังจากหยอดเมล็ดได้ 10-14 วัน ต้นกล้ามีใบเลี้ยง 2 ใบ ให้ถอนย้ายลงปลูกในถุงดินหรือในถาดเพาะต่อไป การรดน้ำในช่วงการเพาะเมล็ดนี้จำเป็นต้องใช้บัวที่มีฝอยละเอียด และรดทุกวันอย่าให้ทรายแห้งเป็นอันขาด
การย้ายกล้าลงในถุงดิน
การย้ายกล้าลงในถุงดิน ให้เตรียมถุงดินโดยใช้ถุงพลาสติค ขนาด 4x4 นิ้ว หรือ 4x6 นิ้ว เจาะรูตรงมุมด้านล่างทั้ง 2 ข้าง เพื่อระบายน้ำ ดินผสมที่ใช้ประกอบด้วย ดิน 3 ปุ้งกี๋ ขี้วัวเก่า 1 ปุ้งกี๋ ปุ๋ยสูตร 0-46-0 1 กำมือ คลุกเคล้าให้เข้ากันและกรอกลงในถุงดิน นำถุงดินไปวางเรียงบนแปลงขนาดกว้าง 1.2 เมตร (เรียงได้ 10-15 ถุง) เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานและการคลุมต้นกล้า เพื่อป้องกันแสงแดดและฝน จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้ามะละกอที่ถอนจากกระบะทรายลงปลูกถุงละ 1 ต้น การย้ายกล้าควรกระทำในตอนเย็นหรือขณะที่แสงแดดน้อย หลังการย้ายกล้าให้รดน้ำตามอีกหนึ่งรอบ ทำหลังคาคลุมด้วยวัสดุที่พลางแสง ทิ้งไว้ 3-4 วัน พอต้นกล้าเริ่มติดและตั้งตัวแข็งแรงก็เริ่มเปิดที่พลางแสงออก แต่ทุกเย็นหรือขณะฝนตกต้องคลุมแปลงกล้าด้วยพลาสติคใสเพื่อป้องกันฝน ควรรดน้ำต้นกล้าทุกวัน และฉีดพ่นสารกำจัดศัตรูพืชเมื่อแมลงมารบกวน ประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงได้
การย้ายกล้าลงในถาดเพาะกล้า
ให้ใช้ถาดเพาะกล้าพลาสติคสีดำ ที่มีจำนวน 104 หลุม ใส่มีเดีย (วัสดุใช้แทนดิน) ลงให้เต็มช่องหลุมแล้วปรับให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่ม นำต้นกล้าที่ถอนออกจากกระบะทรายลงปลูกให้เต็มถาดเพาะ จะเห็นว่าวิธีการใช้ถาดเพาะกล้านี้ง่ายและสะดวก สามารถทำในที่ร่มและเก็บไว้ในที่ร่ม 3-4 วัน แล้วจึงย้ายไปวางเรียงในแปลงกลางแจ้งและทำหลังคาคลุมพลาสติคเพื่อป้องกันฝนตก ดูแลเหมือนวิธีแรก ประมาณ 25-30 วัน ก็สามารถย้ายลงปลูกได้ วิธีนี้จะช่วยในการขนย้ายต้นกล้าไปยังแปลงปลูกได้สะดวกกว่า
การเตรียมแปลงปลูกและการย้ายปลูก
มะละกอ เป็นพืชที่มีระบบรากลึกและกว้าง ควรไถดินให้ลึก ใช้ระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 2-2.5 เมตร ความยาวแล้วแต่พื้นที่ ขุดร่องเป็นรูปตัววี ลึกประมาณหนึ่งหน้าจอบ รองพื้นด้วยปุ๋ยคอก อัตรา 500-1,000 กิโลกรัม ต่อไร่ ฟูราดาน อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ สารบอแรกซ์ อัตรา 2-3 กิโลกรัม ต่อไร่ ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยโรยลงในร่องตัววี แล้วกลบยกเป็นแปลงนูนรูปโค้งหลังเต่า สูงประมาณ 20-30 เซนติเมตร คลุมด้วยพลาสติคสีบรอนซ์หรือคลุมด้วยฟางข้าว จากนั้นกำหนดระยะปลูกโดยใช้ระยะห่างระหว่างต้น 1.5-2.0 เมตร แล้วขุดหลุมปลูก รดน้ำหลุมให้ชุ่ม จากนั้นย้ายต้นกล้าลงปลูก ในหลุมปลูกรดน้ำตามอีก 1 รอบ การปลูกระวังอย่าปลูกลึกเกินไปอาจทำให้ต้นกล้าตายได้
การดูแลรักษา
1. การใส่ปุ๋ย
ครั้งที่ 1 ใส่ปุ๋ยรองพื้นขณะเตรียมแปลง สูตร 15-15-15 อัตรา ประมาณ 50 กิโลกรัม ต่อไร่
ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตรเสมอ เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา ประมาณ 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยการโรยข้างต้น ห่างโคนต้น 30-40 เซนติเมตร แล้วกลบโคนต้น หลังย้ายปลูกประมาณ 1 เดือน
ครั้งที่ 3 หลังจากปลูกประมาณ 3-4 เดือน ใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตรา ประมาณ 25-30 กิโลกรัม ต่อไร่ ผสมกับปุ๋ยคอก เช่น ขี้ไก่ อัตราประมาณ 500 กิโลกรัม ต่อไร่ โดยการโรยที่ร่องแปลงแล้วกลบโคนต้นหรือจะฝังระหว่างต้นก็ได้
2. การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพออย่าให้ขาดน้ำ เพราะถ้ามะละกอขาดน้ำต้นอาจจะชะงักการเจริญเติบโต ไม่ติดดอกออกผล การให้น้ำมะละกอไม่ควรให้น้ำแฉะเกินไป เพราะมะละกอเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำมาก แต่ขาดน้ำไม่ได้
3. การพรวนดินกำจัดวัชพืช
ควรมีการพรวนดินและกำจัดวัชพืช ในช่วงแรกอย่าให้วัชพืชรบกวน และต้องมีการกลบโคนต้นในช่วงหลังปลูกประมาณ 1 เดือน
4. การทำไม้หลัก
เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีลำต้นค่อนข้างอวบ ให้ผลผลิตและมีน้ำหนักมาก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องทำหลักเพื่อพยุงลำต้นไม่ให้ล้ม
5. การไว้ผลและการตัดแต่ง
การปลูกมะละกอถ้าจะให้ได้คุณภาพผลผลิตที่ดี ควรปลิดผลที่ไม่สมบูรณ์ทิ้ง เพราะนอกจากจะแย่งอาหารแล้ว ยังทำให้ผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ
การเก็บเกี่ยวและการขนย้าย
มะละกอ สามารถเก็บเกี่ยวได้ทั้งผลดิบและผลสุก แล้วแต่ความต้องการของตลาด ถ้าต้องการผลดิบสามารถเก็บเกี่ยวได้หลังจากปลูกประมาณ 5-6 เดือน แต่ถ้าเก็บผลสุก หลังจากปลูกประมาณ 8-10 เดือน จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ ควรเลือกเก็บเกี่ยวผลที่กำลังเริ่มสุกมีสีส้มหรือเหลืองปนเขียว ขณะที่ผลที่ไม่นิ่มหลังจากเก็บเกี่ยวควรห่อผลด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ เพื่อรักษาผิวของผลมะละกอไม่ให้ช้ำและเสียหายได้
ศัตรูและการป้องกันกำจัด
ไรแดง เป็นศัตรูของมะละกอ ลักษณะการทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของมะละกอ เช่น ใบ ผล ดอกหรือส่วนอ่อนๆ ของพืช มักจะระบาดในช่วงที่มีอากาศร้อนและแห้ง
การป้องกันกำจัด
- เมื่อมีการระบาด ให้ตัดหรือเก็บส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัยของไรแล้วเผาทำลาย
- ทำลายพืชอาศัยบริเวณข้างเคียง
- ใช้สารเคมีประเภทฆ่าไร เช่น อะคาร์ เคลเทน ไดฟอน และไอไมท์ ใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ โดยฉีดพ่นหรือใช้กำมะถันผงฉีดพ่น
เพลี้ยไฟ เป็นศัตรูที่สำคัญของมะละกออีกชนิดหนึ่งที่มีลำตัวขนาดเล็ก เคลื่อนไหวไวมาก ทำลายโดยการดูดน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืชและเป็นพาหนะของเชื้อไวรัส มักจะระบาดช่วงที่มีอากาศร้อนในฤดูแล้ง
การป้องกันกำจัด เนื่องจากเพลี้ยไฟเป็นแมลงที่มีการเคลื่อนไหวเร็วและสามารถสร้างความต้านทานต่อยาฆ่าแมลง ดังนั้น การใช้สารเคมีกำจัดจึงต้องเปลี่ยนชนิดของยาอยู่เสมอ ไม่ควรใช้ชนิดใดชนิดหนึ่ง ยาที่ใช้ได้ผลคือ ไดเมทโซเอท คาร์โบซัลแฟน โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ
เพลี้ยอ่อน เป็นแมลงศัตรูที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง ลักษณะการทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนอ่อนของต้นมะละกอ เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอกหรือส่วนอ่อนของลำต้น เพลี้ยอ่อนเป็นพาหนะของเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง ซึ่งเป็นโรคที่ร้ายแรงของมะละกอ
การป้องกันกำจัด โดยการทำลายพืชอาศัยหรือโดยการทำลายมดซึ่งเป็นตัวพาหะให้เพลี้ยอ่อนไประบาด ใช้สารเคมี ป้องกันกำจัด เช่น ฉีดพ่นด้วยยาพวกคาร์โบซัลแฟน มาลาไธออน โดยใช้ตามคำแนะนำของยาชนิดนั้นๆ
โรคของมะละกอ
โรคใบด่าง สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะ หรือโดยการสัมผัสต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ยังไม่เป็นโรค
ลักษณะอาการ เริ่มแรกใบยอดเหลืองซีด มีเส้นใบหยาบหนา ต่อมาแผ่นใบจะด่างเป็นคลื่น เขียวเข้มสลับเขียวอ่อนมองเห็นชัดเจน ใบมีขนาดเล็กม้วนงอ ใบหด ถ้าเป็นกับต้นอ่อนมะละกอจะแคระแกร็น ใบล่างเหลืองและร่วงหล่น ส่วนยอดจะโกร๋นเมื่อเป็นอย่างรุนแรง แต่ถ้าเป็นมะละกอที่โตแล้ว การผสมของดอกจะไม่ติด หรือผลที่ติดแล้วจะมีลักษณะอาการด่างเป็นจุดดวงแหวนทั่วทั้งผล ผิวเป็นจุดรอยช้ำๆ
การป้องกัน
- หมั่นตรวจแปลงปลูก ถ้าพบต้นที่เป็นโรคก็ให้รีบทำลาย โดยการถอนทำลายนำไปเผาไฟหรือฝังให้ลึก
- กำจัดแมลงที่เป็นพาหะของโรค เช่น เพลี้ยอ่อนและกำจัดพืชอาศัย เช่น วัชพืชที่อยู่รอบๆ แปลงปลูก
โรคเน่าของต้น สาเหตุเกิดจากเชื้อรา โรคนี้มักระบาดอย่างรุนแรงในช่วงที่อากาศร้อน อุณหภูมิสูงและความชื้นในบรรยากาศสูง เช่น ช่วงฤดูฝนหรือการให้น้ำในแปลงปลูกมากเกินไป มักจะระบาดในช่วงของต้นกล้าและหลังการย้ายปลูก
ลักษณะอาการ ใบจะเหลืองซีดและร่วงหล่นเหลือแต่ส่วนยอด บริเวณรากเกิดอาการเน่าและบริเวณโคนต้นที่ติดกับผิวดินจะเน่า ต้นจะหักล้ม ต้นมีลักษณะฉ่ำน้ำ เน่าเป็นสีน้ำตาลถึงดำ
การป้องกันกำจัด
- ระวังอย่าให้น้ำมะละกอมากเกินไป ทั้งในระยะต้นกล้าและต้นโต
- ไม่ควรให้ปุ๋ยประเภทไนโตรเจนมากเกินไป เพราะจะทำให้ลำต้นอวบ เปราะ และหักง่าย
- เตรียมดินให้ร่วนซุย ยกแปลงปลูกให้สูงทำทางระบายน้ำให้ดีอย่าให้น้ำท่วมขัง
ปัจจุบันพบเกษตรกรฃาวนครศรีธรรมราช นำ มะละกอเรดเลดี้ ไปปลูกเป็นพืฃแซมในสวนยางพารา ได้ผลดกดี สีสวย รสหวานหอม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น