วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

การต่อกิ่ง (GRAFTING)

การต่อกิ่งเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนพันธุ์พืชจากพันธุ์ที่ไม่ดีให้เป็นพันธุ์ดีที่ต้องการ วิธีนี้เหมาะสำหรับพืชประเภทไม้เนื้ออ่อน โดยมีวิธีทำดังนี้
๑. การต่อกิ่งไม้เนื้ออ่อน (Herbaceous grafting๑)
เป็นวิธีที่ใช่อกิ่งไม้เนื้ออ่อน ไม้ชุ่มน้ำ และยอดอ่อนองไม้เนื้อแข็งทั่วๆ ไป วิธีการต่อมีอยู่ ๒ วิธีดังนี้
๑.๑. การต่อกิ่งแบบฝานบวบ (Spliced grafting) ปฏิบัติดังนี้
๑. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้มีขนาดเท่า ๆ กัน และควรให้บริเวณที่ต่อเรียบและตรง
๒. เฉือนปลายกิ่งต้นตอให้เฉียงขึ้น ให้แผลที่เฉือนยาวประมาณ ๑-๑.๕ นิ้ว
๓. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลงให้แผลและองศาที่เฉียงพอ ๆ กับที่เตรียมบนต้นตอ
๔. ประกอบแผลของกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลที่เตรียมไว้บนต้นตอให้สนิท
๕. พันด้วยผ้าพลาสติกให้แน่น

๑.๒. การต่อกิ่งแบบเข้าเดือย (Saddle grafting๑) ปฏิบัติดังนี้
๑. เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีเหมือนวิธีแบบฝานบวบ
๒. เฉือนต้นตอให้เฉียงขึ้นทั้งสองข้างเป็นรูปลิ่ม
๓. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นรูปง่าม (รูปตัว V หงาย) พอเหมาะกับแผลของต้นตอที่เตรียมไว้
๔. เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนต้นตอให้รอยแผลประกบกันพอดี
๕. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๒. การต่อกิ่งแบบเสียบแปลือก (Bark grafting)
เป็นวิธีการที่นิยมในการต่อยอดไม้ผล ทั้งพืชที่มีเปลือกหนาและเปลือกบาง ข้อดีของการต่อกิ่งวิธีนี้คือ เนื้อไม้จะไม่ถูกผ่าออกจากกัน โอกาสที่รอยต่อจะเน่าหรือถูกทำลายจากเชื้อโรคจึงมีน้อย แต่มีข้อเสียคือจะต้องทำการต่อขณะที่ต้นตอมีเปลือกล่อนในระยะที่ต้นพืชมีการเจริญเติบโตดีเท่านั้น โดยมีวิธีการต่อดังนี้
๒.๑. การต่อกิ่งแบบเสียบเปลือก (Bark grafting)
๑. เลือกต้นตอบริเวณที่จะทำการต่อให้ตรง
๒. ตัดต้นตอในแนวระดับ ให้รอยตัดอยู่ใต้ข้อเล็กน้อย
๓. กรีดเปลือต้นตอถึงเนื้อไม้จากรอยตัดลงล่างยาวประมาณ ๑-๒ นิ้ว
๔. เผยอเปลือกไม้เล็กน้อยตรงรอยกรีดที่ติดกับหัวรอยตัด
๕. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเฉียงลง ให้แผลยาวเท่ารอยกรีดบนต้นตอ
๖. บากโคนแผลรายเฉือนของกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นบ่า และเฉือนปลายรอยแผลทางด้านตรงข้ามเล็กน้อย
๗. เสียบกิ่งพันธุ์ดีให้รอยบากเข้าหาต้นตอจนรอยบากวางบนหัวต้นตอพอดี
๘. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๒.๒. วิธีเสียบเปลือกแปลงวิธีที่ ๑ (Modified Bark grafting I)
๑. ทำการเตรียมต้นตอเหมือนข้อ ๒.๑ แต่เผยอเปลือกต้นตอแถบเดียว
๒. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเฉียงลง ให้แผลยาวเท่ารอยกรีดบนต้นตอ
๓. บากโคนแผลรอยเฉือนของกิ่งพันธุ์ดีให้เป็นบ่า
๔. เฉือนปลายรอยเฉือนทางด้านตรงข้ามแต่ให้เอียงเข้ามาทางที่เปิดเปลือกของข้างต้นตอ
๕. นำกิ่งพันธุ์ดีไปเสียบบนแผลที่เตรียมไว้แล้วพันด้วยพลาสติกให้มิดรอยแผล
๒.๓. วิธีเสียบเปลือกแปลงวิธีที่ ๒ (Modified Bark grafting II)
๑. ตัดต้นตอเหมือนข้อ ๒.๑
๒. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้จากรอยตัดลงล่าง ๒ รอยยาวประมาณ ๑-๒ นิ้ว และให้รอยกรีดทั้งสองห่างกันเท่าเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่งพันธุ์ดี
๓. ตัดเปลือกต้นตอที่อยู่ระหว่างรอยกรีดออกให้เหลือไว้เพียง ๑/๓ ของรอยกรีด
๔. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเฉียงลงให้รอยเฉือนยาวเท่าแผลบนต้นตอและเฉือนโคนกิ่งด้านตรงข้ามรอยเฉือนครั้งแรกออกเล็กน้อย
๕. เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลที่เตรียมไว้บนต้นตอ โดยให้ปลายรอยเฉือนด้านนอกสอดอยู่ด้านในของแผ่นเปลือกของต้นตอที่เหลือ
๖. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๒.๔. วิธีเสียบเปลือกแปลงวิธีที่ ๓ หรือวิธีเสียบเปลือกแบบตัว T (Modified Bark grafting III of Modified T graft)
๑. เลือกต้นตอบริเวณที่เป็นปล้องตรงและเรียบ
๒. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้ให้เป็นรูปตัว T แล้วเผยอเปลือกหัวตัว T และทำการปาดเปลือกเหนือตัว T ออกเล็กน้อย
๓. เฉือนกิ่งพันธุ์ดีเฉียงลงพร้อมทั้งปาดแผ่นเปลือกโคนกิ่งด้านตรงข้ามรอยเฉือนครั้งแรกออกเล็กน้อย
๔. สอดกิ่งพันธุ์ดีลงบนรอยแผลรูปตัว T ที่เตรียมไว้
๕. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๒.๕. วิธีเสียบเปลือกแปลงวิธีที่ ๔ (Modified Bark grafting IV)
เป็นวิธีต่อกิ่งไม้ผลเมืองร้อนทั่วไป เช่น มะม่วง ขนุน อาโวกาโด เป็นต้น มักใช้เป็นวิธีเปลี่ยนยอดต้นใหญ่ ๆ มากกว่าใช้เป็นวิธีขยายพันธุ์ สำหรับวิธีการต่อทำดังนี้
๑. กรีดเปลือกต้นตอถึงเนื้อไม้บริเวณปล้องให้รอยกรีดห่างกันประมาณ ๐.๕ นิ้ว
๒. เฉือนตัดขวางหัวรอยกรีดตอนบนของทั้งสองรอยถึงเนื้อไม้
๓. เผยอเปลือกหัวรอยตัดด้วยปลายมีดเล็กน้อย
๔. ลอกแผ่นเปลือกระหว่างรอยกรีดทั้งสองลงมาจนสุดรอยกรีด
๕. พับแผ่นเปลือกเข้าที่เดิม แล้วตัดโคนแผ่นเปลือกเฉียงลงให้เหลือโคนแผ่นเปลือกประมาณ ๑/๔ - ๑/๓ ของแผ่นเปลือกทั้งหมด
๖. เฉือนกิ่งตาพันธุ์ดีเป็นปากฉลามให้แผลยาวประมาณ ๒ นิ้ว จากนั้นจึงเฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีทางด้านหลังให้ถึงเนื้อไม้เป็นแผลยาวประมาณ ๐.๕ นิ้ว
๗. สอดกิ่งพันธุ์ดีลงในแผลที่เตรียมไว้บนต้นตอ โดยให้รอยเฉือนด้านยาวทั้งหมดสอดลงในแผลของต้นตอและให้แผ่นเปลือกของต้นตอที่เหลือทับรอยเฉือนด้านหลังของกิ่งพันธุ์ดีพอดี
๘. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๓. การต่อกิ่งแบบเสียงข้าง (Side grafting)
เป็นวิธีการต่อกิ่งไม้ประดับที่ปลูกอยู่ในกระถาง เช่น เฟื่องฟ้า โกศล เล็บครุฑ ชะบา ชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้ต่อกิ่งไม้ผลบางชนิดได้ดี เช่น มะม่วง ทับทิม ลองกอง เป็นต้น ส่วนใหญ่ของช่วงเวลาที่ทำการต่อจะทำในระยะที่กิ่งเปลือกติด ซึ่งเกิดจากการชะงักหรือหยุดการเจริญในชั่วเวลาหนึ่ง วิธีการต่อกิ่งแบ่งออกได้เป็น ๓ แบบ ดังนี้
๓.๑. การต่อกิ่งแบบเสียบข้าง (Side grafting)
๑. เลือกต้นตอที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณไม่เกิน ๑ นิ้ว
๒. เฉือนต้นตอลงมาเป็นมุม ๒๐-๓๐ องศา ให้รอยเฉือนยาวประมาณ ๒-๓ นิ้ว
๓. เลือกกิ่งพันธุ์ดีที่มีตาประมาณ ๒-๓ ตา และยาวประมาณ ๒-๓ นิ้ว
๔. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปลิ่มให้แผลรอยเฉือนยาวประมาณ ๑.๕-๒ นิ้ว และให้รอยเฉือนด้านหน้ายาวกว่ารอยเฉือนด้านหลังเล็กน้อย
๕. เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลที่เตรียมไว้บนต้นตอ โดยการโน้มต้นตอไปทางด้านตรงข้ามรอยบากเล็กน้อยและให้รอยเฉือนด้านสั้นอยู่ด้านหลัง จัดให้แนวเยื่อเจริญของกิ่งพันธุ์ดีและต้นตอตรงกันแล้วจึงปล่อยให้ต้นตอกลับที่เดิ
๖. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๓.๒. การต่อกิ่งแบบเสียบข้างเข้าลิ้น (Side tongue grafting)
๑. เลือกต้นตอบริเวณที่สูงกว่าผิวดินเล็กน้อยให้เรียบและตรง
๒. เฉือนต้นตอเฉียงลงให้เข้าเนื้อไม้เล็กน้อย
๓. ประมาณ ๒/๓ ของรอยแผลจากตอนบนเฉือนเข้าไปในเนื้อไม่ให้ความยาวของแผลเท่ากับความยาวของโคนแผลบนต้นตอ
๔. เลือกกิ่งพันธุ์ดีที่มีขนาดเล็กกว่าต้นตอเล็กน้อย
๕. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นรูปปากฉลาม จากนั้นจึงทำเป็นลิ้นให้ความยาวเท่ากับความยาวของลิ้นต้นตอ
๖. เสียบกิ่งพันธุ์ดีลงบนต้นตอให้ลิ้นขัดกัน
๗. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๓.๓. การต่อกิ่งแบบเสียบข้างเข้าบ่า (Side veneer grafting)
๑. เฉือนต้นตอเฉียงลงตรงบริเวณที่เรียบเหนือผิวดินเล็กน้อยเข้าไปในเนื้อไม้ให้แผลยาวประมาณ ๑-๒ นิ้ว
๒. ตัดชิ้นส่วนที่เฉือนออกให้เหลือเพียง ๑/๓ ของส่วนที่เฉือนออกทั้งหมด
๓. เตรียมกิ่งพันธุ์ดีโดยเฉือนให้เฉียงเป็นปากฉลาม ให้แผลยาวเท่ากับแผลที่เตรียมบนต้นตอ
๔. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีด้านตรงข้ามกับที่เฉือนครั้งแรกออกถึงเนื้อไม้ให้แผลที่เฉือนออกมีขนาดเท่าลิ้นรอยเฉือนที่เหลือไว้บนต้นตอ
๕. สวมกิ่งพันธุ์ดีลงบนแผลที่เตรียมบนต้นตอให้เยื่อเจริญตรงกันและให้ลิ้นของต้นตอทับรอยเฉือนของกิ่งพันธุ์ดีพอดี
๖. พันด้วยพลาสติกให้แน่น

๔. การต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม (Cleft grafting)
การต่อกิ่งแบบนี้เป็นวิธีที่นิยมใช้สำหรับการต่อยอดโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นกิ่งที่มีขนาดใหญ่หรือเล็ก แต่ขนาดของกิ่งที่พอเหมาะจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑-๔ นิ้ว ใช้ในการต่อกิ่งพืชที่มีเส้นเนื้อไม้ตรง กิ่งพันธุ์ดีควรเป็นกิ่งแก่อายุประมาณ ๑ ปี ขณะทำการต่อต้นตอควรมีเปลือกไม่ล่อนจากเนื้อไม้ มักใช้ต่อพันธุ์พืชผลัดใบ เช่น ทับทิม น้อยหน่า เป็นต้น มีวิธีการดังนี้
๔.๑. การต่อแบบเสียบลิ่ม (Cleft grafting)
๑. ตัดต้นตอบริเวณที่ตรง ไม่มีข้อหรือตา เป็นมุมฉากกับกิ่งที่ต่อ
๒. ผ่าต้นตอตามยาวให้ลึกประมาณ ๒-๓ นิ้ว แล้วแต่ขนาดของกิ่
๓. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงลงทั้งสองข้าง แต่เฉือนให้ด้านหนึ่งหนากว่าอีกด้านหนึ่ง
๔. เผยอรอยผ่าบนต้นตอโดยใช้ใบมีดสอดเข้าไปในรอยผ่าแล้วบิดใบมีดให้รอยผ่าเผยออก
๕. สอดโคนกิ่งพันธุ์ดีให้แนวเยื่อเจริญของรอยเฉือนบนต้นและกิ่งพันธุ์ดีทับกันโดยเอาด้านหนาที่เฉือนไว้ด้านนอก
๖. พันด้วยพลาสิตกให้แน่น

๔.๒. การต่อกิ่งแบบอินเลย์ (Inlay grafting)
๑. ตัดต้นตอตั้งฉากกับกิ่งเหมือนข้อ ๔.๑.
๒. ผ่าตัดตอเข้าไปในเนื้อไม้เล็กน้อยประมาณ ๑/๔-๑/๓ ของเส้นผ่าศูนย์กลางและให้รอยผ่ายาวประมาณ ๑.๕-๒ นิ้ว แล้วแต่ขนาดของต้นตอ
๓. ตัดชิ้นส่วนที่เฉือนสุดรอยเฉือนเป็นมุม ๔๕ องศา และให้เหลือเป็นลิ้นยาวประมาณ ๑/๓ ของส่วนที่เฉือน
๔. เฉือนโคนกิ่งพันธุ์ดีเป็นปากฉลามให้รอยเฉือนยาวเท่าแผลบนต้นตอและเฉือนโคนกิ่งด้านตรงข้ามรอยเฉือนครั้งแรกให้เป็นแผลรอยเฉือนยาวเท่ากับลิ้นที่เหลือบนต้นตอ
๕. เสียบกิ่งพันธุ์ดีบนต้นตอให้แผลรอยเฉือนครั้งแรกสัมผัสกับแผลบนต้นตอและให้ลิ้นของต้นตอทับแผลด้านหลังของกิ่งพันธุ์ดีพอดี
๖. พันรอยต่อด้วยพลาสติกให้แน่น

๕. การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น (Whip of Tongue grafting)
เป็นวิธีที่ใช้ต่อกิ่งขนาดเล็ก ๑/๓ - ๑/๒ นิ้ว และกิ่งต้องมีขนาดเท่า ๆ กันและควรใช้กิ่งที่ตรงและเรียบ โดยมีวิธีปฏิบัติดังนี้
๕.๑. การต่อกิ่งแบบเข้าลิ้น (Whip of Tongue graft)
๑. เฉือนต้นตอให้เฉียงขึ้น รอยแผลยาวประมาณ ๑-๓ นิ้ว แล้วแต่ขนาดของกิ่
๒. ผ่าต้นตอห่างจากปลายรอยเฉือน ๑/๓ ให้รอยผ่ายาวเสมอโคนแผลรอยเฉือน
๓. เตรียมกิ่งพันธุ์ดีเช่นเดียวกับการเตรียมแผลบนต้นตอ
๔. สอดกิ่งพันธุ์ดีเช่นเดียวกับการเตรียมแผลบนต้นตอโดยให้ลิ้นที่เฉือนขัดกัน ๑/๓ ของรอยผ่า โดยต้องกะให้แนวเยื่อเจริญของกิ่งพันธุ์ดีและต้นตอทับกันสนิท
๕. พันรอยต่อด้วยพลาสติกให้แน่น

๕.๒. การต่อกิ่งแบบแชมปิน (Champin grafting)
การต่อกิ่งแบบนี้เหมือนการต่อกิ่งแบบเข้าลิ้นทุกอย่าง แตกต่างกันที่จะสอดต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีให้ลิ้นขัดกัน ๒/๓ จนกระทั่งปลายรอยเฉือนเลยแผลที่เตรียมไว้ แต่จะตัดปลายรอยเฉือนตรงส่วนที่เลยออกให้เสมอกับแผลที่เตรียมไว้เท่านั้น

๖. การต่อกิ่งค้ำยันและการต่อซ่อม
ก. การต่อกิ่งเพื่อค้ำยัน ส่วนใหญ่จะทำเพื่อการเสริมราก เนื่องจากพืชที่ปลูกไปแล้วมีปัญหาจากระบบรากที่เกิดจากการขยายพันธุ์พืชแบบการตอน ตัดชำ และการทาบกิ่ง จึงจำเป็นต้องหาต้นตอที่ได้จากเพาะเมล็ดมาทำการต่อกิ่งเพื่อเป็นการค้ำยัน สร้างความแข็งแรงให้แก่ต้นพืชที่ปลูกไปแล้ว
การเตรียมต้นตอเพื่อการต่อกิ่งสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้
๑. เพาะเมล็ดที่เป็นต้นตอบริเวณโคนต้นพืชที่จะทำการเสริมราก เมื่อต้นตอมีขนาดเหมาะสมก็ทำการต่อกิ่งได้
๒. เพาะต้นกล้าที่เป็นต้นตอในภาชนะอื่น เมื่อมีขนาดเหมาะสมแล้วย้ายมาปลูกบริเวณโคนต้น พร้อมกับทำการต่อกิ่งในเวลาเดียวกัน
๓. ย้ายต้นตอจากแปลงเพาะอื่นที่มีขนาดเหมาะสมแบบรากเปลือยมาปลูกบริเวณโคนต้นพืชที่จะทำการเสริมรากพร้อมกับทำการเสริมรากในเวลาเดียวกัน สำหรับวิธีการต่อกิ่งค้ำยันหรือเสริมราก มีด้วยกันหลายวิธีดังนี้
๖.๑. การต่อกิ่งค้ำยันแปลงจากวิธีเสียบข้าง
๑. ทำแผลบนต้นพันธุ์ดีที่ทำการเสริมรากหรือค้ำยัน โดยเฉือนเข้าเนื้อไม้เป็นมุมเอียงขึ้นประมาณ ๒๐-๓๐ องศา คล้ายวิธีการต่อกิ่งแบบเสียบข้าง
๒. เตรียมต้นตอแบบรูปลิ่ม โดยให้แผลด้านในยาวกว่าแผลด้านนอก
๓. เสียบต้นตอเข้าในรอยแผลให้แนวเยื่อเจริญสัมผัสกันมากที่สุดแล้วพันด้วยพลาสติกหุ้มรอยแผลให้แน่น
๖.๒. การต่อกิ่งค้ำยันเหมือนการต่อกิ่งแบบตัวทีหัวกลับ
๑. เปิดปากแผลบริเวณโคนต้นพืชที่จะทำการเสริมรากเป็นรูปตัวทีหัวกลับ
๒. ทำแผลต้นตอเป็นรูปปากฉลามเฉือนด้านหลังทิ้งเล็กน้อย
๓. สอดต้นตอเข้าไปในรอยแผลบนต้นพันธุ์ดีให้สนิท
๔. ใช้ตะปูเข็มตอกยึด แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น กรณีที่มีลมพัดแรงอาจต้องใช้เชือกยึดต้นตอและต้นพันธุ์ดีไว้ให้แน่น เพื่อไม่ให้แผลหลุดออกจากกันได้
๖.๓. การต่อกิ่งค้ำยันเหมือนวิธีการเสียบเปลือก
๑. เปิดปากแผลต้นพันธุ์ดีทีจะเสริมรากโดยการกรีดแผลขนานกันไปตามความยาวของลำต้นประมาณ ๒-๓ นิ้ว ความกว้างของแผลใหญ่กว่าต้นที่ทำหน้าที่ค้ำยันเล็กน้อย แล้วเผยอเปลือกขึ้นด้านบน
๒. เฉือนแผลต้นตอที่จะมาช่วยค้ำยันแบบปากฉลามและเฉือนด้านหลังเล็กน้อยลักษณะเป็นรูปลิ
๓. เสียบต้นตอที่ช่วยค้ำยันเข้ากับรอยแผลบนต้นพันธุ์ดีให้สนิท แล้วพันด้วยพลาสติกให้แน่น กรณีที่ต้นพันธุ์มีขนาดเล็ก ถ้ามีลมพัดอาจทำให้แผลหลุด ควรทำการผูกเชือกยึดต้นตอกับต้นพันธุ์ดีให้แน่น
ข. การต่อกิ่งเพื่อซ่อมเปลือกไม้ของต้นพืชที่ชำรุดหรือถูกทำลาย
๑. ตัดแต่งเปลือกไม้ส่วนที่ตายออกให้หมดจนถึงส่วนที่ยังสมบูรณ์อยู่ทั้ง ๒ ด้าน
๒. กรีดเปลือกไม้เป็นช่อง แล้วเผยอเปลือกไม้ขึ้นเล็กน้อย ต้องทำทั้งด้านล่างและด้านบนให้ร่องตรงกัน
๓. เฉือนกิ่งที่จะมาซ่อมเป็นสะพานแบบปากฉลาดที่ปลายกิ่งทั้งสองด้าน โดยจะให้เหลือความยาวกิ่งที่จะเสียบเป็นสะพานต่อรอยเปลือกด้านบนและด้านล่างของต้นไม้ที่จะทำการซ่อมได้พอดี
๔. เฉือนปากแผลด้านหลังของกิ่งเดิมทั้งสองปลายเป็นรูปปากฉลามและปากแผลเล็กกว่าครั้งแรกเล็กน้อย โดยทำให้ปลายกิ่งทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปลิ่ม
๕. สอดกิ่งที่ทำหน้าที่เป็นสะพานเข้าในรอยแผลบนต้นไม้ที่ต้องการจะซ่อมให้สนิท
๖. ตอกตะปูเข็มบริเวณรอยแผลที่กิ่งสะพานเสียบเข้าไปให้แน่นทั้งด้านบนและด้านล่าง แล้วพันด้วยพลาสติกหรือทาด้วยขี้ผึ้งต่อกิ่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น